การสร้างสรรค์ศิลปะจากกระดูกสัตว์: กรณีสร้างสรรค์ผลงานเรื่องสัจธรรมแห่งรูปทรงสมมุติ

Main Article Content

สุชา ศิลปชัยศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากกระดูกสัตว์ 2. เพื่อศึกษาเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อใช้วัสดุธรรมชาติที่เหลือจากการบริโภคให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าของวัสดุด้วยงานศิลปะ มีวิธีการศึกษาจากเอกสารและผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจ จนนำไปสู่การเลือกใช้กระดูกสัตว์จากการบริโภคอาหารของผู้วิจัยเป็นวัสดุหลักมาสร้างรูปทรงขึ้นใหม่ โดยใช้รูปทรงแบบนามธรรมหรือกึ่งนามธรรมเพื่อมิให้ความหมายใดมาบดบังคุณค่าของวัสดุที่ใช้ ผลการวิจัยได้สร้างงานศิลปะจากกระดูกสัตว์ที่สะท้อนถึงชีวิตอันไม่จีรัง เกิดแก่เจ็บตายเป็นสัจธรรม ปรากฏผลงาน 6 ชิ้น ชิ้นที่ 1-3 มีลักษณะกึ่งนามธรรม ชิ้นที่ 4-6 มีลักษณะแบบนามธรรม ดังนี้ 1. สาระ รูปทรงจากธรรมชาติแต่งเติมให้เกิดรูปทรงใหม่สะท้อนความงามอันไม่แน่นอนดังดอกไม้ 2. ตรรกะ ใช้ลักษณะรูปทรงของก้อนหินสร้างรูปทรงอันเรียบง่ายสะท้อนถึงชีวิตที่เป็นธรรมดา 3. ลีลา ใช้แรงบันดาลใจจากผีเสื้อสร้างสรรค์รูปทรงเพื่อสะท้อนถึงความไม่จีรังของชีวิตดังความงามที่ต้องดับสูญสิ้น 4. พันธะ มีโครงสร้างแบบเรขาคณิตให้วัสดุแสดงความหมายผ่านงานศิลปะเพื่อตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต 5. คู่เคียง โครงสร้างเป็นทรงกระบอกคู่ สร้างสรรค์รูปทรงผ่านกระดูกสัตว์เพื่อสะท้อนแนวคิดแห่งชีวิต 6. มายา ทุกด้านให้มุมมองที่แตกต่างให้ลักษณะของรูปทรงที่หลากหลายสะท้อนความรู้สึกถึงชีวิตที่มีหลายแง่มุม การวิจัยนี้เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างมีระบบ เพื่อแสวงหาการสร้างรูปทรงจากกระดูกสัตว์ซึ่งเปรียบเสมือนแกนค้ำยันของร่างกาย สะท้อนถึงสัจธรรมต่อการมีชีวิตโดยไม่ประมาท


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทนงค์ ลำประไพ และนารีรัตน์ พลบจิตต์. (2556). การใช้ปัจเวกขณวิธีในการดำเนินชีวิตประจำวัน

กกกกกกกกของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564, จาก http://www.mcu.ac.th/article/detail/14396

พิษณุ ศุภนิมิตร. (2562). มะเร็ง มาเล็ง. กรุงเทพฯ: บริษัท ปตท. จำกัด.

ภมร สารากรบริรักษ์. (2545). ชีวิตและงาน สันต์ สารากรบริรักษ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2550). การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2554). การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

BBC News ไทย. (11 กรกฎาคม 2561). "ปั๊กปั๊ก" อาหารจากกองขยะในฟิลิปปินส์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565,

กกกกกกกกจาก http://www.youtube.com/watch?v=ATBWJVETcTE