ศึกษาเปรียบเทียบวิธีถนอมไม้ไผ่ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

Main Article Content

วัชรินทร์ จินต์วุฒิ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการไม้ไผ่ในตลาดโลกมีสูงขึ้น ไผ่ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มูลค่าการส่งออกไม้ไผ่และผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่ตลาดต่างประเทศกว่า 130 ล้านบาท สิ่งสำคัญในการเพิ่มมูลค่าไม้ไผ่ คือขบวนการถนอมรักษาเนื้อไม้ ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานของไม้ไผ่ อย่างไรก็ตามขบวนการถนอมรักษาเนื้อไม้ไผ่ที่ชาวสวนนิยมใช้ในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของวิธีการถนอมไม้ไผ่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการถนอมไม้ไผ่ด้วยวิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้ไม้ไผ่บงมาผ่านขบวนการถนอมไม้ไผ่ทั้ง 6 วิธี ได้แก่ การบ่มไม้ไผ่ด้วยน้ำ การบ่มไม้ไผ่ด้วยวิธีต้ม การบ่มไม้ไผ่ด้วยการตากแดด การบ่มไม้ไผ่ด้วยวิธีแช่เกลือ การบ่มไม้ไผ่ด้วยน้ำหมักชีวภาพ และรมควัน โดยผลการทดลองพบว่าวิธีถนอมไม้ไผ่ที่มีประสิทธิภาพเพียง 4 วิธี ได้แก่ การแช่น้ำไหล วิธีการต้มด้วยน้ำเปล่า วิธีการแช่น้ำเกลือ และวิธีรมควันด้วยความร้อน โดยทั้ง 4 วิธีให้ผลการป้องกันผิวไม้ด้านนอกและเนื้อไม้ที่ดีเทียบเท่ากัน สำหรับการถนอมไม้ไผ่ด้วยการแช่น้ำหมักชีวภาพ พบรอยกัดกินเนื้อไม้ที่บริเวณผิวด้านนอกและรอยเชื้อราดำ ซึ่งส่งผลความสวยงามของลำไผ่และความแข็งแรง ส่วนการถนอมไม้ไผ่ด้วยวิธีการตากแดด พบเนื้อไม้ไผ่ถูกแมลงกัดแทะจนไม่สามารถนำไปใช้งานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้. (2541). การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้.

กรมป่าไม้. (2560). สื่อเรื่อง มอดไม้ไผ่. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=YNj9X0jlFS0

กรมป่าไม้. (ม.ป.ป.). การป้องกันแมลงศัตรูทำลายไม้ไผ่. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก http://forprod.forest.go.th/forprod/nana/PDF/Bamboo.pdf

กลุ่มงานแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้. (2562). การป้องกัน...แมลงศัตรูทำลายไม้ไผ่. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. กรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://forprod.forest.go.th/ forprod/nana/PDF/Bamboo.pdf

ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล. (2557). ไม้ไผ่ พืชเศรษฐกิจจากป่าที่สำคัญของคนไทย. การประชุมแลกเปลี่ยนไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย ครั้งที่ 1: องค์ความรู้ และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น, 28-35.

มานิตา ดุมกลาง สมชาย บุญพิทักษ์ และสนธยา ทองอรุณศร. (2563). การพัฒนากระบวนการเพิ่มความคงทนของไม้ไผ่ สำหรับงานโครงสร้าง. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563. หน้า 89-106.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2564). การวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของไผ่ในประเทศไทย. องค์กรความร่วมมือด้านไผ่และหวายระหว่างประเทศ. (หน้า 3). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.tei.or.th/file/library/2021-bamboo_50.pdf

สุรีย์ ภูมิภมร. (2557). ไผ่กับวิถีชุมชนท้องถิ่นไทย. ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : องค์ความรู้และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น. บริษัท ดูมายเบส จำกัด. กรุงเทพฯ. หน้า 36-39.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสระบุรี. (2563). วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/saraburi-article_prov-preview-421591791800

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). ส่องตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ในต่างแดน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จากhttp://www.oie.go.th/index2.php

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้. (2547). การป้องกันรักษาไม้ไผ่. กรมป่าไม้. ห้างหุ้นส่วนจำกัดอักษรสยามการพิมพ์. กรุงเทพฯ. หน้า 9-11.

The north องศาเหนืือ. (2562). จัับตาอนาคตไผ่่ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=sC5Kv3cnQqg