คุณลักษณะภูมิทัศน์เพื่อการกำหนดภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวและแนวคิดการใช้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก คือ การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชั้นนำระดับโลก เพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะใช้องค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมในการศึกษาคุณลักษณะภูมิทัศน์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่สะท้อนถึงภูมิทัศน์ที่เป็นทรัพยากรในท้องถิ่น และเสนอแนะแนวคิดการใช้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พื้นที่ศึกษา ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร ด้วยการศึกษารวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและการสำรวจภาคสนาม สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปสู่การเสนอแนะแนวคิดการใช้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรี เมืองท่องเที่ยววิถีสุขภาพแบบองค์รวม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยววิถีสุขภาพเชิงนันทนาการ และจังหวัดชุมพร เมืองท่องเที่ยววิถีสุขภาพเชิงนิเวศ ผลจากการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลประกอบกับการศึกษาในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะวางแผนพัฒนาให้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชั้นนำระดับโลกต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก.
กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จามรี อาระยานิมิตสกุล. (2558). ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรธิกา พังงา, ชวาพร ศักดิ์ศรี, พรทิวา วิจิตรโกเมน, อรอำไพ สามขุนทด, มุขสุดา พูลสวัสดิ์, ธนกฤต สังข์เฉย และพรหมมาตร
จินดาโชติ. (2564). แผนขับเคลื่อนกลยุทธ์แห่งอนาคตของไทยแลนด์ริเวียร่า. กรุงเทพฯ: หน่วยงานบริหารและจัดการ
ทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พบข.).
Abellán, F. C. & Martínez, C. G. (2021). Landscape and Tourism as Tools for Local Development in Mid-
Mountain Rural Areas in the Southeast of Spain (Castilla-La Mancha). Land, 10(2), 221-238.
Butler, A. & Berglund, U. (2014). Landscape Character Assessment as an Approach to Understanding Public
Interests within the European Landscape Convention. Landscape Research, 3(39), 219-236.
Global Wellness Institute. (October 6, 2022). Wellness Tourism Initiative Introduction. Retrieved January 5,
, from https://globalwellnessinstitute.org/global-wellness-institute-blog/2022/10/06/wellness-
tourism-initiative-introduction/
Hall, C. M. & Page, S. J. (2009). Progress in Tourism Management: From the Geography of Tourism to Geographies of Tourism - A review. Tourism Management, 30, 3–16.
Jiménez-García, M., Ruiz-Chico, J., & Peña-Sánchez, A. R. (2020). Landscape and Tourism: Evolution of Research Topics. Land, 9(12), 488-506.
Lengkeek, J., Te Kloeze, J. W., & Brouwer, R. (1997). The Multiple Realities of the Rural Environment. The Significant of Tourist Images for the Countryside pp. 324-343. In: Images and Realities of Rural Life. Hann, H. and Long, N. Assen.
National Park Service, US Department of the Interior. (October 24, 2022). Character-Defining Features of the Landscape. Retrieved January 4, 2023, from http://www.nps.gov/tps/standards/four-treatments/landscape-guidelines/organization.htm
Tudor, C. (2014). An Approach to Landscape Character Assessment. England: Natural England.
UNWTO. (2018). Exploring Health Tourism. Madrid: World Tourism Organization and European Travel
Commission.
Wascher, D. M. (2005). European Landscape Character Areas: Typologies, Cartography and Indicators for
the Assessment of Sustainable Landscapes. Wageningen: Landscape Europe.
WHO Regional Office for Europe. (2021). Green and Blue Spaces and Mental Health: New Evidence and
Perspectives for Action. Copenhagen: World Health Organization Regional Office for Europe.