การออกแบบและประเมินผลสัญลักษณ์นำโชคเพื่อสื่อสารการท่องเที่ยวท้องถิ่น ประจำจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การออกแบบและประเมินผลสัญลักษณ์นำโชคเพื่อสื่อสารการท่องเที่ยวท้องถิ่นประจำจังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยกำหนดจุดประสงค์ของการวิจัยดังนี้ คือ 1) เพื่อออกแบบสัญลักษณ์นำโชคที่สื่ออัตลักษณ์ท้องถิ่น 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อประเมินผลสัญลักษณ์นำโชคที่สื่ออัตลักษณ์ท้องถิ่น 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค ผู้วิจัยได้ประเมินผลงานสัญลักษณ์นำโชคทั้งสิ้น 9 ผลงานที่ออกแบบจากอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก 9 อำเภอ และสร้างเครื่องมือประเมินผลงานออกแบบ โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 160 คน โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (Random Sampling) พบว่า รูปแบบที่ 8 จำปาขาว สัญลักษณ์นำโชคประจำอำเภอนครไทย มีผลการประเมินมากที่สุดในด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยรวม (=4.59, S.D.=0.58)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา อาสนะคงอยู่ และเอกชัย โกมล. (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษาจังหวัด
พิษณุโลก. ทุนอุดหนุนการวิจัยด้านวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2553.
ชวลิต ดวงอุทา. (2552). การออกแบบคาแรกเตอร์ในงานโฆษณาที่ส่งผลต่อการจดจำสินค้าของผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤพนธ์ คมสัน. (2561). ทฤษฎีและแนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 5(1) ,111
ปกรณ์กิตศ์ หาญรณงค์ศักดิ์. (2555) .การออกแบบตัวละคร. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก
https://www.gotoknow.0rg/posts/427700
ไพโรจน์ ธีระประภา. (2558) อัตลักษณ์ของที่ระลึกและกราฟิกดีไซน์สะท้อนพิ้นถิ่น, กรุงเทพฯ: industrial network.
นิตยสาร idesign, (148)
วราภรณ์ มามี. (2565) การออกแบบสัญลักษณ์นำโชค มาสคอต สำหรับส่งเสริมธุจกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย.
พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร