เครื่องแต่งกายมอดุล่าร์ : แนวคิดจากอดีตสู่แฟชั่นเครื่องแต่งกายแห่งอนาคต

Main Article Content

ทเนศ บุญประสาน
รัฐไท พรเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ถอดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากการศึกษางานวิจัยเรื่อง อุปกรณ์ยึดเกี่ยวเสื้อผ้ามอดุล่าร์ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน อุปกรณ์ยึดเกี่ยวเสื้อผ้า (Closure) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการยึด ติด เกาะ เกี่ยว รัด และสามารถเปิดคลายออกได้ ใช้สำหรับเครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายมอดูลาร์ (Modular Apparel) หมายถึงเครื่องแต่งกายที่มีแนวคิดมาจากระบบมอดุลาร์ สามารถถอดประกอบแยกชิ้นส่วนของเสื้อผ้าและติดกลับใส่ในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ยึดเกี่ยวเสื้อผ้าหรือด้วยวิธีการอื่นใด เพื่อประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของผู้สวมใส่ เครื่องแต่งกายมอดุล่าร์มีคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติในหลายด้าน ด้านการใช้งานเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ด้านสุนทรียศาสตร์ความงาม และด้านการสร้างความยั่งยืน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของเครื่องแต่งกายมอดุล่าร์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวคิดแบบมอดุล่าร์จากตัวอย่างเครื่องแต่งกายในอดีต  วิเคราะห์กระบวนการสร้างเครื่องแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดมอดุล่าร์ จนถึงการวิเคราะห์ประเภทโครงสร้างเครื่องแต่งกายมอดุล่าร์ในปัจจุบัน ด้วยวิธีการพรรณนาเปรียบเทียบยกตัวอย่างพร้อมกับภาพประกอบ จากการศึกษาพบว่าเครื่องแต่งกายในอดีตมีวิธีการคิด วิธีการสร้างแบบตัดเย็บมีที่ความสอดคล้องกับหลักการมอดุลาร์ จากแนวคิดเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ทำให้ในปัจจุบันมีการพัฒนาแฟชั่นมอดุล่าร์ที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น และยังพบว่ารูปแบบโครงสร้างเครื่องแต่งกายอดุล่าร์มีสามแบบคือ ได้แก่แบบโครงสร้างแยกชิ้นส่วนประกอบ แบบโครงสร้างเรขาคณิต และแบบโครงสร้างแบบผสมผสาน เครื่องแต่งกายมอดุล่าร์ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีองค์ประกอบที่ดีด้วยคือ รูปแบบ วิธีการใช้งานที่ง่าย และระบบการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบที่จำเป็นเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางเพื่อใช้พัฒนาต่อยอดสู่แนวทางการวิจัยเพื่อออกแบบอุปกรณ์ยึดเกี่ยวเสื้อผ้าในอุตสาหกรรมแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรรมธรรศ เลี้ยงธรรมรัตน์. (2562).การพัฒนาและออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากวงจรชีวิตเครื่องแต่งกายแฟชั่นอย่าง

ยั่งยืนด้วยทฤษฎีระบบโมดูล่าร์ (ศป.ม.), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

Carolin Vogler. (2017). Modular Fashion. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2566. จาก https://medium.com/

@CarolinVogler/modular-fashion-c98306c820a9

Chanjuan Chen and Kendra Lapolla. (2020). The Exploration of the Modular System in Textile and Apparel

Design. Clothing and Textiles Research Journal , 39(1) ,1-16.

Fabian Gorsler. (2022). Gauvain’S Highly-Modular Jacket Makes Shopping Fun. Retrieved December 5, 2022,

from https://www.highsnobiety.com/p/gauvain-modular-jacket/

Fashion History Timeline. (2017). 1460-1469. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566 จาก

https://fashionhistory.fitnyc.edu/ 1460-1469/

Fashion History Timeline. (2017). Ruff. Retrieved February 11, 2023, from https://fashionhistory.fitnyc.edu/ruff/

Harita Kapur. (2016). Handmade Tales: Sustainable Fashion Through Craft Connections MDes., Massey

University, Wellington.

Hennessy, K., ed. (2012). Fashion the Definitive History of Costume and Style. New York : DK Publishing.

Jess Peter. (2021). Transformable Fashion: The Biggest Sustainable Clothing Trend That Never Was. Retrieved

January 8, 2023, from https://www.fashionstudiesjournal.org/longform/2018/9/15/transformable-fashion

Meng-Mi Li, Ying Chen, Ye Wang. (2018). Modular Design in Fashion Industry. Journal of Arts & Humanities.

Volume 07, Issue 03, 2018, (27-32) https://theartsjournal.org/index.php/site/article/view/1271/644

Pattida Sothornprapakorn. (2560). เจ๋งง่ายๆ ด้วยระบบ Modular./Neverland Effects.จาก : https://www. neverland

effects.com/howto/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8B%E0%B8%87%E0%B9%84%E

%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%

%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-

modular/

PAUL T. Anastas, Julie B. Zimmerman.Through the 12 Principles Green Engineering. (2003). Environmental

Science & Technology. American Chemical Society Retrieved January 13, 2023, from

https://pubs.acs.org/doi/pdf/10.1021/es032373g