การยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ทุ่งหลวงรังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพทุ่งหลวงรังสิต ส่งผลถึงความเป็นอยู่การประกอบอาชีพของคนในทุ่งหลวงรังสิต จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ตามประวัติศาสตร์และฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในการเสริมสร้างอาชีพของชุมชนทุ่งหลวงรังสิต จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นที่ยอมรับและสร้างรายได้ให้กับชุมชน และ 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาชีพศิลปกรรมศาสตร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนด้วยนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผสานวิถีชีวิตชุมชน สร้างสรรค์ สร้างเสน่ห์ตรงตามอัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชนทุ่งหลวงรังสิต จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักออกแบบ ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ รวมจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 - 50 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานของรัฐ ข้าราชการและนักศึกษา ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานครและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง ร่วมกันยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ทุ่งหลวงรังสิต
พบว่า พื้นที่ทำวิจัยทุ่งหลวงรังสิต คือ อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง และอำเภอ
หนองเสือ รวมถึงคลอง 14-15 (จังหวัดนครนายก) เนื่องจากมีคุณค่าและต้นทุนทางวัฒนธรรม สามารถนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับบริบทพื้นที่ วัตถุดิบในท้องถิ่น ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิตที่สัมพันธ์กับการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการมายกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม
การยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ทุ่งหลวงรังสิต ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพทุ่งหลวงรังสิต จากแผนที่ทางวัฒนธรรมของทุ่งหลวงรังสิต สำรวจและสัมภาษณ์กลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ซื้อและผู้ประกอบการ พบว่า คุณค่าทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมชาติพันธุ์ตัวแทนชาวจีนและมุสลิม นำสัญลักษณ์ที่แทนความหมายของ “วัฒนธรรมของทุ่งหลวงรังสิต” ได้แก่ วิถีวัฒนธรรมสายน้ำ ข้าว บัวหลวง เรือขายก๋วยเตี๋ยว นำมาประกอบเป็นลวดลายผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมของทุ่งหลวงรังสิต ส่วนที่ 2 การยกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมทุ่งหลวงรังสิต ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยสรุปความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ พบว่า ลวดลายผลิตภัณฑ์ : เก้าอี้โบราณ (วัสดุที่ใช้ผลิตไม้) พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากและลวดลายผลิตภัณฑ์ : ผ้าคลุมไหล่และผ้าคลุมศรีษะ (วัสดุผลิตจากผ้านำมาปักผ้า) พบว่า รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมาก และส่วนที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ : เก้าอี้โบราณ พบว่า กลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีผลรวมค่าเฉลี่ยทั้ง 6 ด้าน คือ (=4.40)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรีพร นาคสัมฤทธิ์. (2560). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมทักษะวิชาสัมมาชีพแก่เยาวชน
กลุ่มชาติพันธุ์ในโรงเรียนชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 36(1), 52-63.
ชงคุมา กมลเวช. (2551). รูปแบบธุรกิจเชิงวัฒนธรรม. เอกสารประกอบการประชุม.
ราเชนทร์ สุขม่วง. (2556). การพัฒนาของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรม
การผลิตงานไม้. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4(1).3.
วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2556). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2559. จาก
http://www.amexteam.com/resources/helper/editor/upload/ knowledge/1/01_.pdf.
สมพร ธุรีและคณะ. (2564). การสร้างคุณค่าทุนวัฒนธรรมผ่านจินตภาพทุ่งหลวงรังสิต. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Smith, J.B. and Colgate, M. (2007). Customer Value Creation: A Practical Framework. Journal of
Marketing Theory and Practice,15,7-23.