วิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง อุบัติการณ์ใหม่ของรูปทรง

Main Article Content

ทวีรัศมิ์ พรหมรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะและขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อให้ได้ผลงานจิตรกรรม ภายใต้นิยามคำว่า “อุบัติการณ์ใหม่ของรูปทรง” ที่ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนดรูปแบบขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีด้านมนุษย์วิทยา ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และแนวคิดด้านวาทกรรม สู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัย


โดยกำหนดขอบเขตของการสร้างสรรค์ออกเป็น 2 ช่วง คือ 1. ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างเนื้อหาเรื่องราว          2. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักศึกษาทางด้านศิลปะเป็นผู้ประเมินคุณค่าทางด้านสุนทรียะภาพในขั้นตอนสุดท้าย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม แบบประเมินความพึงใจคุณค่าทางด้านสุนทรียะภาพ และgเขียนรายงานผลการวิจัยโดยใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบผลงานจิตรกรรมได้กำหนดเนื้อหาจากทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์มาสู่การพัฒนารูปแบบผลงานจิตรกรรมที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน                  ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการรับรู้เรื่องราวในชีวิตประจำวันไปสู่ผลกระทบปัญหาทางด้านจิตใจและบุคลิกภาพจากประเด็นดังกล่าวผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์และแนวคิด เพื่อสื่อความหมายเชิงคุณค่าผ่านการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในแต่ละผลงาน ขั้นตอนต่อมาได้ทำการประเมินผลการรับรู้ทางด้านสุนทรียะภาพในแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมาก ถึงระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ วิลาสินิกุล, ดวงฤทัย เอสะนาชาดัง, วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร. (2547). พลังการวิจารณ์ ทัศนศิลป์.กรุงเทพฯ:

ภาพพิมพ์

จี ศรีนิวาสัน. (2553). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีว่าด้วยความงามและศิลปะ. สุเชาว์ พลายชุม,แปล.กรุงเทพฯ:

มหามกุฏราชวิทยาลัย

จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2558). วาทกรรม. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561, จาก http//www.dailynews.co.th/article/322296

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ.(2540).สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จำลอง ดิษยวนิช, พริ้มเพรา ดิษยวนิช. (2545). ความเครียด ความวิตกกังวลและสุขภาพ. เชียงใหม่: แสงศิลป์

ชลูด นิ่มเสมอ. (2532). การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทวีรัศมิ์ พรหมรัตน์. (2559). สุนทรียศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ3.

ทวีรัศมิ์ พรหมรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อบำบัดความเครียดผู้ติดสารเสพติด. (วิทยานิพนธ์ดุษฎี

บัญฑิต วิทยาลัย). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระมหาสนอง ปัจโจปการี. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

พิชัย ผกาทอง. (2547). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว. (2550). พุทธปรัชญาแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สยาม.

มรรยา รุจิวิทย์. (2548). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ:

มาโนชย์ หล่อตระกูล,ปราโมทย์ สุคนิชย์. (2552). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.

มุกดา ศรียงค์ และคณะ. ( 2540). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยศ สันตสมบัติ. (2542). ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์ จากความฝันสู่ทฤษฎีสังคม.กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ.

วิทยา เชียงกูล. (2551). จิตวิทยาความฉลาดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สายธาร.

วัลลภ ปิยะมโนธรรม. (2550). เทคนิคการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัวด้วยตัวเอง. กรุงเทพฯ:ฐานมีบุคส์.

วิไลรัตน์ ยังรอด, ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. (2551 สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

วิกิตำรา. (2555). ฟูโกต์. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561, จาก https://th.wikibooks.org/wiki/ฟูโกต์

สมภพ เรืองตระกูล. (2548). ตำราจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สิริวรรณ สาระนาค. (2547). ทฤษฎีบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพิศวง ธรรมพันทา. (2543). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: ภูมิไทย.

อานันทร์ กาญจนพันธุ์. (2553). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ: อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก.