การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การออกแบบมัลติมีเดีย

Main Article Content

ลินดา อินทราลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการออกแบบมัลติมีเดีย 2) ประเมินคุณภาพและ
ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการประเมิน
คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 5 ท่าน และด้าน
การสอนวิชาการออกแบบมัลติมีเดียจำนวน 5 ท่าน สำหรับการประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และการประเมินความพึง
พอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตสาขาวิชาการออกแบบสื่อนวัตกรรมปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการออกแบบมัลติมีเดีย
แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติแบบ t-test (dependent) ผลการวิจัย
พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาของบทเรียนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์์โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.23 อยู่่ในระดับคุณภาพดีมาก คุณภาพด้านกิจกรรมท้ายบทเรียนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์์โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.65 และมีค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก คุณภาพด้านการออกแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์์โดยรวมมีค่า4.38
และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 อยู่่ในระดับคุณภาพดี และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพที่ 82.00/81.75 ซึ่ง
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 จากผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดมีค่า 4.63 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47
สรุปได้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). สิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนยุคอินเทอร์เน็ต. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง. หน้า
53-62. กรุงเทพฯ. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556).การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ วิจัย , 5(1), 7-19.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศิริณี จันทรชาติ. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเลก็ ทรอนกิ ส์แบบการ์ตูนกล่มุ สาระการเรยี นรู้ สงั คมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรมเร่อื งเรยี นรู้ สังคมมนษุ ย์สาหรับนักเรียนชนั้ มัธยมศึกษาปีที่4. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 6 (1):83-88.

ศิริพร บุญเรือง. (2556). การพัฒนาหนงั สอื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ เร่อื งการอ่านจับใจความ ของนกั เรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ปีที่ 6, ฉบับที่ 1
มกราคม - เมษายน : 770 - 881.

สุกัญญา เเรงกล้า, อังคนา กรัณยาธิกุล, อุษา คงทอง. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การป้องกันตนเองจาก
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตภูมิศาสตร์ภาค
กลาง. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่
ความยั่งยืน. หน้า 663-667. นครราชสีมา. วิทยาลัยนครราชสีมา.