คำแนะนำในการเขียนบทความเพื่อลงพิมพ์ในวารสารเอเชียปริทัศน์
1. บทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์ควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 และไม่ต่ำกว่า 10 หน้ากระดาษ A 4 ทุกหน้าต้องมีหมายเลขหน้ากำกับ พิมพ์บทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word ภาษาไทยใช้แบบอักษร Cordia New หรือ Cordia UPC ขนาดอักษร 14 ภาษาอังกฤษใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาดอักษร 12 เว้นระยะบรรทัดเดี่ยวและกั้นหน้าปกติ (กั้นขอบกระดาษด้านละหนึ่งนิ้ว)
2. บทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวภาษาละไม่เกิน 250 คำ บทคัดย่อทั้ง 2 ภาษาต้องมีคำสำคัญระหว่าง 3-5 คำกำกับด้วย
3. บทความต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หากผู้เขียนบทความไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา ต้องให้เจ้าของภาษาตรวจทานแก้ไขก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ หากมีข้อความในภาษาอื่น ๆ ประกอบ ให้แปลกำกับด้วยภาษาที่ใช้ในการเขียนบทความ
4. บทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น กรณีไม่ได้รับการตีพิมพ์ บรรณาธิการจะไม่ส่งบทความคืนแก่ผู้เขียน
5. เนื่องจากบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาจะได้รับการประเมินแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน จึงต้องไม่มีชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความในตัวบทความ ผู้เขียนบทความโปรดแยกใบนำส่งบทความที่ระบุชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน และที่อยู่สำหรับการติดต่อทั้งทางไปรษณีย์ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ออกจากตัวบทความ พร้อมด้วยประวัติผู้เขียนอันประกอบด้วยตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบัน และความเชี่ยวชาญ ความยาวประมาณ 3 บรรทัด
6. การอ้างอิงใช้การอ้างอิงในเนื้อความแบบนาม-ปี เอกสารภาษาไทยระบุชื่อผู้เขียนหรือบรรณาธิการ
ปีพุทธศักราชที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า (ในกรณีที่มีการคัดลอกข้อความ) เช่น
สมพงศ์ สระแก้ว (2555)
สมพงศ์ สระแก้ว (2555, 40)
(สมพงศ์ สระแก้ว 2555)
(สมพงศ์ สระแก้ว 2555, 40)
เอกสารภาษาอังกฤษ ระบุนามสกุลของผู้เขียนหรือบรรณาธิการ ปีคริสต์ศักราชที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า
(ในกรณีที่มีการคัดลอกข้อความ) เช่น
Johnson (2012)
Johnson (2012, 56)
(Johnson 2012)
(Johnson 2012, 56)
หากมีการคัดลอกข้อความมาจากแหล่งอื่น ให้ใส่ข้อความไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศและอ้างอิงแหล่งที่มากำกับ ในกรณีที่ข้อความที่คัดลอกมามีความยาวเกิน 3 บรรทัด ให้ใช้กั้นหน้าแคบและเว้นระยะด้านบนและด้านล่าง 1 บรรทัดจากเนื้อความหลัก เชิงอรรถใช้สำหรับอธิบายความเท่านั้น และวางอยู่ท้ายหน้า
7. รายการอ้างอิงท้ายบท ใช้ระบบ Chicago (ดูตัวอย่าง)
8. การส่งต้นฉบับ สามารถส่งได้ 2 วิธี คือส่งไฟล์นามสกุล .doc หรือ .docx และ .pdf
การเขียนรายการอ้างอิง
รายการอ้างอิงท้ายบทความใช้รูปแบบตามระบบ Chicago ซึ่งมีรูปแบบพื้นฐานคือ
ภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. ปี พ.ศ.ที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: ผู้พิมพ์.
ภาษาต่างประเทศ
Lastname, Firstname. Year of publication. Title of Book. Place of publication: Publisher.
Lastname, Firstname, and Firstname Lastname. Year of publication.
Title of Book. Place of Publication: Publisher.
รายการที่อ้างอิงจากเว็บไซต์ มีรูปแบบพื้นฐานคือ
ภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. ปีพ.ศ.ที่ลงหรือเข้าถึง. “ชื่อบทความหรือชื่อ webpage.” ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อ
หน่วยงาน, เข้าถึงเมื่อ วันที่ เดือน พ.ศ.. URL.
ภาษาต่างประเทศ
Lastname, Firstname. Year of publication or access. “Title of Article or Webpage.”
Name of Website or Publishing Organization, access date. URL.
รายละเอียดอื่นๆ ของสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทโปรดดูตามตัวอย่างต่อไปนี้
1. หนังสือ
กฤษดาวรรณ หงส์ลดารมภ์ และ จันทิมา เอียมานนท์, บรรณาธิการ. 2549. มองสังคมผ่านวาทกรรม.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แชนด์เลอร์, เดวิด. 2549. ประวัติศาสตร์กัมพูชา. แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์
และวงเดือน นาราสัจจ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคนอื่นๆ. 2555. การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อการรองรับการเคลื่อนย้าย
แรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาการศึกษา
กระทรงศึกษาธิการ.
Bligh, Beatrice. n.d. Cherish the Earth. Sydney: Macmillan.
Leitch, Vincent B., William E. Cain, Laurie A. Finke, Barbara E. Johnson, John McGowan, T.
Denean Sharpley-Whiting, and Jeffrey J. Williams, eds. 2010. The Norton Anthology of
Theory and Criticism. 2nd edn. New York: W.W. Norton & Company.
2. บทความในหนังสือ วารสารวิชาการ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. 2534. “การกำหนดนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น.” เอเชียปริทัศน์ 12 (3): 1-40.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. 2545. “ประวัติศาสตร์กับเสรีภาพ: ข้อคิดจากการโจมตีสหรัฐอเมริกา.” ใน จักรวรรดินิยมกับการก่อ
การร้าย, ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, บรรณาธิการ, 137-153. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.
“มาลาเรียลาม 3 จว.ใต้ตอนบน.” 2548. คม-ชัด-ลึก, 7 มิถุนายน: 25.
“สรุปยอดรวมการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 26 มิ.ย. –31 ต.ค. 57.” 2557. สำนักบริหารแรงงาน
ต่างด้าว, เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม. https://wp.doe.go.th/wp/images/pr/pr_oss291157.pdf.
Devlin, H. 2010. "Neuron Breakthrough Offers Hope on Alzheimer’s and Parkinson’s." The
Times, January 28. Accessed February 28, 2010. https://www.timesonline.co.uk/tol/news/
science/medicine/article7005401.ece.
Rudolph, Jürgen. 2000. “The Political Causes of the Asian crisis.” In The Political Dimensions of
the Asian Crisis, edited by Uwe Johannen, Jürgen Rudolph, and James Gomez, 13-93.
Singapore: Select Books.
3. วิทยานิพนธ์ และบทความนำเสนอในการประชุม
มัทนา เจริญวงศ์. 2543. “เนื้อหาการเมืองในหนังสือพิมพ์รายวัน.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Singh, Kamal, and Gary Best. 2004. "Film Induced Tourism: Motivations of Visitors to the Hobbiton
Movie Set as Featured in 'The Lord of the Rings'." In Proceedings of the 1st International Tourism
and Media Conference, Melbourne, 2004, 98-111. Melbourne: Tourism Research Unit,
Monash University.
Varttala, Teppo. 2001. “Hedging in Scientifically Oriented Discourse: Exploring Variation According to
Discipline and Intended Audience.” PhD diss., University of Tampere.
Wongboonsin, Kua, Philip Guest, and Vipan Prachuabmoh. 2004. “Demographic Change and the Demographic
Dividend in Thailand.” Paper presented at the International Conference on the Demographic Window
and Health Aging: Socioeconomic Challenges and Opportunities, Beijing, May 10-11.
สำหรับเอกสารอ้างอิงประเภทอื่นๆ ดูรายละเอียดการอ้างอิงตามระบบ Chicago ได้ใน The Chicago Manual of Style ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 16 ค.ศ. 2010 หรือ https://www.chicagomanualofstyle.org/ tools_citationguide.html
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันเอเชียศึกษา ดูตัวอย่างอื่นประกอบ