Introduction

Main Article Content

Jirayuth Sinthuphan

Abstract

นับแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า โควิด-19 ที่ทําให้รูปแบบการดําเนินชีวิตที่เราทุกคนคุ้นชินต้องหยุดชะงักและเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน คําว่า ความปกติใหม่ หรือ วิถีใหม่ ก็ได้กลายเป็นคําศัพท์ ที่ติดปากคนไทยโดยทั่วไป บทความในวารสารเอเชียปริทัศน์ฉบับนี้อาจจะไม่ได้ เกี่ยวข้องกับความปกติใหม่ในบริบทของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเสียทั้งหมด แต่บทความเหล่านี้ก็เชิญชวนให้เราทบทวนคุณค่าของอดีตเพื่อครุ่นคิดถึงโลกปัจจุบัน และวิถีใหม่ในอนาคต


เริ่มต้นด้วย คุณค่าเชิงความหมายของลวดลายพญานาคบนผ้าห่อคัมภีร์ ทางศาสนากลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์โดย สุริยา คลังฤทธิ์และคณะ ที่ชวนเรา ให้ทําความรู้จักกับที่มา ความสําคัญ ความหมายและคุณค่าของสัญลักษณ์ลวดลาย พญานาคบนผ้าห่อคัมภีร์ทางพุทธศาสนาตามแนวคิดของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ การผสมผสานระหว่างความเชื่อแบบศาสนาผีที่ผู้เขียนเรียกว่ามิติโลก ทัศน์แบบวิญญาณนิยมและความเชื่อแบบพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นการปรับปรน ผสมผสานความเชื่อแบบดั้งเดิมกับบริบทของวิถีชีวิตแบบใหม่ของชุมชนแต่ครั้งโบราณ ที่ต่อมาก็จะได้ถ่ายเทไปสู่การประดิษฐ์เป็นลวดลายบนผืนผ้าไหมที่ใช้ในชีวิตประจําวัน และเป็นสินค้าที่สําคัญของชุมชน


ถัดมา ศิริพร ดาบเพชร ก็จะพาเราไปสํารวจความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อ ความเท่าเทียมทางเพศในประเทศเกาหลีใต้ผ่านบทความเรื่อง องค์กรสตรีเกาหลีใต้ กับการเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศและการยกเลิกกฎหมายระบบ หัวหน้าครอบครัว บทความนี้ช่วยให้เราเห็นภาพการเคลื่อนไหวและปัจจัยที่ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรสตรีเกาหลีใต้ โดยเน้นบทบาทขององค์กรสตรีที่ เคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขกฎหมาย จนนํามาสู่การแก้ไขกฎหมายครอบครัวและการยกเลิก ระบบหัวหน้าครอบครัวใน ค.ศ. 2005 และสถานการณ์ด้านสิทธิสตรีของเกาหลีใต้ใน ปัจจุบันที่ความขัดแย้งระหว่างเพศและความเท่าเทียมทางเพศยังคงเป็นประเด็นที่ยัง ต้องต่อสู้กันต่อไปในสังคมเกาหลี


จากนั้น วศิน ปั้นทอง และ วุฒิพงษ์ ประพันธมิตร ก็จะพาเราไปสํารวจบทบาท และท่าทีของสาธารณะรัฐประชาชนจีนในระเบียบโลกใหม่ในบทความเรื่อง มังกร ทะยานเหนือ : บทบาทของสาธารณรัฐประชาชนจีนในภูมิภาคอาร์กติก การเริ่ม เข้ามามีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่มขึ้นใน ภูมิภาคอาร์กติก ในด้านหนึ่งนั้นก็เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์การขยาย อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในเวทีโลก แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็อาจมองได้ว่าเป็นความ พยายามของจีนในการแสดงสถานะว่าตนเองก็ประเทศมหาอํานาจระดับโลกที่มีความ ชอบธรรม และมีส่วนร่วมในกิจการหรือปัญหาที่ส่งผลกระทบในระดับนานาชาติ


สุดท้าย ในบทความเรื่อง ความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่ได้ รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการ บริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของเทศบาลนครนนทบุรี นุจรินทร์ ปันจูวงศ์ และ พิพัฒน์ ไทยอารี ได้ช่วยฉายภาพระดับจุลภาคของความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบที่ ประชาชนได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับความ ต้องการขอความช่วยเหลือของประชาชน ที่จะเป็นประโยชน์ต้องการบริหารจัดการ ให้ความช่วยเหลือของภาครัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ในอนาคต ผล กระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ด้านเศรษฐกิจและภาวะ การดํารงชีพ รายงานการวิจัยยังพบว่าผลกระทบสําคัญที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือก็ยังมีผลกระทบด้านสังคมและสุขภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเจ็บไข้ทางจิต ที่ต้องการการบริหารจัดการและฟื้นฟูเยียวยา

Article Details

How to Cite
Sinthuphan, J. (2021). Introduction. ASIA PARIDARSANA, 42(1), 1–7. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/250562
Section
Introduction
Share |