Introduction

Main Article Content

จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

Abstract

พลวัตและความเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วมันไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วพริบตาจากปัจจัยกระทบไม่กี่ปัจจัยที่ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป สั่งสมกำลังเรื่อยมาตามกระแสแห่งกาลเวลา บทความในวารสารเอเชียปริทัศน์ฉบับนี้มีแก่นสาระที่ร่วมกันคือเป็นการนำผู้อ่านเดินย้อนเส้นทางแห่งความเปลี่ยนแปลงทบทวนปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพลวัตรของสังคมที่นำมาสู่ภาพปัจจุบัน


ภาษากับการเมือง: กรณีศึกษาภาษาปัญจาบ โดย ซิมมี่ อุปรา ชี้ให้เราเห็นถึงอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง วัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาที่เริ่มจากการเป็นภาษาท้องถิ่นของชุมชนที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม เปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ไปตามบริบททางสังคมและการเมืองในแต่ละช่วงเวลา


ถัดมา ปิยณัฐ สร้อยคำ ได้เสนอแนวทางใหม่ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและประเทศอินเดียผ่านการท่องเที่ยวในบทความเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงโลกาเทศาภิวัตน์ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงคงคา แนวคิดเรื่อง “โลกาเทศาภิวัตน์” นั้นเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการผสมผสานความเป็นสากลและท้องถิ่น ซึ่งในบทความก็ได้ชี้ให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่ครั้งอดีต และพยายามอธิบายว่าความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงคงคาจะเป็นการสร้างโลกาเทศาภิวัตน์ในโลกปัจจุบันด้อย่างไร ผ่านการประนีประนอม ปรับปรน และ เชื่อมโยง เพื่อจุดเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในมิติเชิงเศรษกิจ การเมือง และสังคม  


เช่นเดียวกัน บทความเรื่อง การทูตเชิงวัฒนธรรม: โยคะเพื่อการดูแลสุขภาพในประเทศไทย โดย สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ก็พูดถึงความเกี่ยวเนื่องทางวัฒนธรรรมอินเดียในไทยผ่านศาสตร์ทางจิตวิญญาณอย่างโยคะ โดยให้ความสำคัญแก่โยคะในฐานะศาสตร์แห่งสุขภาพและในฐานะการทูตทางวัฒนธรรมของอินเดียที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก


จากนั้น ธนเชษฐ วิสัยจร ก็พาเราไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและลาว ผ่านบทความเรื่อง ความท้าทายและโอกาส: ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับอิเดียตั้งแต่ยุคปลดปล่อยอาณานิยมมาจนถึงสมัยแห่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดย โดยวิเคราะห์ถึง ความท้าทายและโอกาสในการสานสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ต่างกันไปในกระแสการเมืองโลก บทความชิ้นนี้ก็ชี้ให้เห็นพื้นที่ในการสร้างโอกาสระหว่างกันในอนาคตด้วยความใกล้ชิดทางอารยธรรมและศาสนา ตลอดจนนโยบายทางการเมืองและความร่วมมือในแบบพหุภาคีและทวิภาคี


ท้ายที่สุด บทความ พลวัตทางเศรษฐกิจการเมืองกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศสิงคโปร์ ของ รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข ก็ฉายภาพให้เห็นนโยบายการต่อต้านการทุจริตของสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่สัมพันธ์กับเงื่อนไขเชิงเศรษฐกิจ โดยชี้ให้เห็นแนวทางการป้องกันการทุจริตที่ปรับแปลี่ยนไปตามพลวัตทางเศรษฐกิจการเมืองตามแต่นโยบายในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีลี กวน ยิว ไปจนถึงนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง  บทความชิ้นนี้เสนอว่า ความยืดหยุ่นทางนโนบายและการดำเนินงานอย่างเอาจริงเอาจังเป็นเวลาต่อเนื่องได้ ส่งผลให้เกิดการสั่งสมของค่านิยมและแนวปฏิบัติที่ต้านการทุจริตขึ้นในสังคมสิงคโปร์ อันสัมฤทธิ์กลายเป็นวิถีที่นำพาให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความโปร่งใสเป็นอันดับต้นๆของโลก

Article Details

How to Cite
สินธุพันธุ์ จ. (2021). Introduction. ASIA PARIDARSANA, 42(2). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/253515
Section
Introduction
Share |