Introduction

Main Article Content

ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์

Abstract

ซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็นวาระเร่งด่วนหลังจากรัฐบาลประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติในเดือนกันยายน 2566 โดยคณะกรรมการชุดนี้กำกับดูแลอนุกรรมการ 11 สาขา ประกอบไปด้วยเฟสติวัล อาหาร ท่องเที่ยว ภาพยนตร์ กีฬา ศิลปะ เกม แฟชั่น ออกแบบ ดนตรี และหนังสือ งบประมาณผลักดันอยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านบาท คาดว่า การทำงานของอนุกรรมการแต่ละสาขาจะนำไปสู่ความนิยมไทยผ่านผลิตภัณฑ์และบริการในต่างแดน


เพื่อเสริมความรู้ด้านซอฟต์พาวเวอร์โดยเฉพาะการบริหารเสน่ห์วัฒนธรรม วารสารเอเชียปริทัศน์เลือกนำเสนอบทความภายใต้แก่นทฤษฎีทางอำนาจ มีด้วยกันทั้งสิ้น 4 เรื่อง แต่ละเรื่องมุ่งเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับการจัดการซอฟต์พาวเวอร์ที่เป็นมากกว่าการส่งเสริมการผลิต บทความเรื่อง “ซีรีส์วายไทยกับแนวทางการพัฒนาสู่ซอฟต์พาวเวอร์” ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมปัจจัยด้านเนื้อหาบันเทิงและสภาพแวดล้อมของผู้ชม ใช้กรณีศึกษาซีรีส์วายอันเป็นงานขึ้นชื่อของไทย บทความเรื่อง “การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจว: อำนาจละมุน การทูตกีฬา และการสื่อสารระหว่างประเทศ” ได้วิเคราะห์แบบอย่างการสื่อสารภาพลักษณ์ผ่านมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ที่หางโจวจนทำให้เห็นว่า ซอฟต์พาวเวอร์นำไปสู่การจัดงานเชิงยุทธศาสตร์อย่างไรและสร้างผลลัพธ์ลักษณะใด บทความเรื่อง “การแพทย์ทางเลือก: การแพทย์อายุรเวท” ฉายภาพทุนวัฒนธรรมการแพทย์แบบอายุรเวทซึ่งแตกต่างจากการแพทย์สมัยใหม่ในด้านปรัชญาการดูแลรักษา แต่กลับเป็นที่ต้องการในหมู่ประชากรรุ่นปัจจุบัน ทำให้ทุนวัฒนธรรมนี้คงความพิเศษสำหรับเติมเต็มภารกิจซอฟต์พาวเวอร์ให้แข็งแกร่ง สุดท้าย บทความเรื่อง “การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้อาหารไทยในฐานะทรัพยากร Soft Power” อธิบายแนวทางสื่อสารเสน่ห์อาหารของไทยผ่านสื่อผสมร่วมกับการจัดการด้านกฎหมายที่จะเอื้อความร่วมมือระหว่างภาคส่วนสำคัญ

Article Details

How to Cite
โล่ห์พัฒนานนท์ ฐ. (2024). Introduction. ASIA PARIDARSANA, 44(2). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/272094
Section
Introduction
Share |