ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และการตีตราทางสังคม กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

นิฮาฟีซา หะยีวาเงาะ

Abstract

งานเขียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของชาวมุสลิมต่อโรคเอดส์ในชุมชนมุสลิมจังหวัดปัตตานี โดยเน้นศึกษาประเด็นการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 แนวคิดหลัก คือ กรอบแนวคิดว่าด้วยการตีตราทางสังคม กรอบแนวคิดเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์ และกรอบคิดเรื่องชุมชนและวัฒนธรรมอิสลาม โดยใช้กรอบแนวคิดเหล่านี้ศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์การตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ไม่ถูกต้องและอิทธิพลของวัฒนธรรมมุสลิมที่ได้มาจากหลักการศาสนาบางส่วนซึ่งยังไม่ครอบคลุมรอบด้าน ส่งผลต่อการให้ความหมายต่อโรคเอดส์ที่ส่ะท้อนการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีถูกมองด้วยความรังเกียจและเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางสังคมและศาสนา

2. การปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นไปในลักษณะของการหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์และสัมผัสตัวผู้ติดเชื้อและพูดถึงผู้ติดเชื้อในเชิงกล่าวโทษนินทาที่เชื่อมโยงไปกับพฤตกิรรมเบี่ยงเบนซึ่งขัดต่อหลักคำสอนทางศาสนาระดับการให้ความใกล้ชิดและการรักษาสถานภาพความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อขึ้นอยู่กับสถานะความสัมพันธ์และสาเหตุของการติดเชื้อเป็นหลัก

3. การลดการตีตราบาปด้วยการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์และนำหลักคำสอนทางศาสนามาปรับใช้จะเป็นแนวทางในเพิ่มศักยภาพโครงข่ายการให้ความช่วยเหลือทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวทั้งในระดับบุคคล สังคม และรัฐ

 

Attitde toard AS and ASelated Stiga A case std of Msli onit in attani roince

This study aims to study the attitude toward AIDS in the Muslim community in Pattani province by focusing on the issue of AIDS-related stigma. The conceptual framework consists of three concepts of social stigma, concept of general knowledge of AIDs and concept of Islamic Community and culture. The study finds the followings:

1. The improper knowledge about AIDS and the influence of Muslim culture extracted from un-holistic approach of Islamic principle has an effect on AIDS stigma. The people infected with HIV are seen with contempt as it couses Cultural and religious deterioration.

2. The interaction with people infected with HIV is avoidance of contacting and touching. People blame HIV infection as being coused by deviant behaviour. However, level of intimacy and maintaining relationship with an infected person depend on status of relationship and cause of infection.

3. Reducing a stigma is a basis to help HIV infection. Giving the correct knowledge on AIDS and adopting religious teaching as a guide are the effective way of social assistance to people infected with HIV.

Article Details

How to Cite
หะยีวาเงาะ น. (2013). ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และการตีตราทางสังคม กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. ASIA PARIDARSANA, 34(1), 107–129. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/92111
Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Share |