บทบาทประชาสังคมและอนาคตประชาสังคมอิสลามในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อับดุลรอนิง สือแต

Abstract

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและบทบาทขององค์กรประชาสังคมและอนาคตประชาสังคมอิสลามในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการขององค์กรประชาสังคมเริ่มต้นจากประชาสังคมแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแล้วพัฒนาสู่ประชาสังคมแบบชมุชนนิยม หลังการสิ้นสุดสงครามเย็นองค์กรประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้หลายๆ องค์กรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและขยับสู่ภาคประชาชนที่หลากหลาย โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้การสนับสนุน หลังเหตุการณ์ปล้นปืน ปี พ.ศ. 2547 องค์กรประชาสังคมเกิดขึ้นเป็นจํานวนมากเพื่อเข้ามาดูแลสิทธิและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรนุแรง ต่อมาประชาสังคมหลายองค์กรได้รวมตัวกันก่อตั้งสภาประชาสังคมชายแดนใต้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพและขับเคลื่อนหลักการกระจายอำนาจในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ อนึ่งอนาคตประชาสังคมอิสลามในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ น่าจะเป็นองค์กรที่สามารถเข้าถึงและขยายสู่ฐานรากของชมุชนได้ดีที่สุด เนื่องจากพบว่าบุคคลและองค์กรศาสนาเป็นกลุ่มที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจากประชาชน

 

The Role of Civil Society and the Future of Islamic Civil Society in Solving the Southern Border Provinces

This article aims to study the development and role of civil society and the future of Islamic civil society in solving the southern border provinces. The study found that the development of civil society originated in the local community in the form of social movement and then evolved into communal society. After the Cold War the civil society organizations in the southern border provinces quickly came into existence and enjoyed a variety of social support through the process of participation supported by universities in the areas. After the attack on an army barrack and seizure of its weapons in 2004 (BE 2547), more civil society organizations came into being to cater for the rights and treat the victims of violence. Later, many civil society organizations collaborated in setting up the community council of the southern border provinces. The council has played a crucial role in building peace and propelling the idea of decentralization as a means of settling the problem of unrest in the three southernmost provinces. In addition, the future ability of the Islamic civil society to solve this problem would materialize through its access to, and good relations with, people at the grass roots level as it was found that both the Muslim personnel and religious organizations were most trusted and acceptable to the people in the problematic southern areas.

Article Details

How to Cite
สือแต อ. (2013). บทบาทประชาสังคมและอนาคตประชาสังคมอิสลามในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ASIA PARIDARSANA, 34(2), 93–137. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/92134
Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Share |