ธาเลส ผู้ริเริ่มปรัชญากรีก
คำสำคัญ:
สนใจ, สงสัย, สังเกตบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทรรศน์ต่างๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาจากเอกสารหนังสือ ผลของการศึกษาพบว่า ปรัชญามนุษย์โลกมีความน่าสนใจและสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จำนำมาศึกษา เพราะถือว่าเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมวลมนุษย์โลกโดยรวม จึงได้ตั้งประเด็นปัญหาดังกล่าวไว้ เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อและวิธีการในการแสวงหาความรู้ปัญหาต่างๆ โดยก้าวแรกของการแสวงหาความรู้นั้น มนุษย์ต้องริเริ่มกลับมาให้คุณค่าความสำคัญในการเป็นมนุษย์ก่อนว่า มนุษย์เป็นจุดศูนย์ร่วมทุกอย่าง ทุกอย่างสามารถเข้าถึง อธิบายได้ด้วยเหตุผล โดยผ่านวิธิการกลั้นกรองโดบสมองมนุษย์ รวบรวมข้อมูล เฝ้าสังเกต ติดตามผล อย่างช้านานแล้วนำมาขบคิดจนตกผลึก บ่งบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลที่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน จากลักษณะร่วมระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานคือกิน อุจจาระ สืบพันธุ์ หลับนอนสิ่งเหล่านี้เป็นลักษณ์ทั่วไปของสัตว์โลก เพราะมนุษย์นั้นนอกจากจะมีสัญชาตญาณลอกเลียนแบบแล้ว ยังสงสัยถึงความน่าจะเป็นไปได้ตลอดถึงความสอดคล้องกันของเหตุการณ์ต่างที่มีอาจจะมีความสัมพันธ์กันทางระบบนิเวศวิทยา การสังเกตนี้บางครั้งอาจกินเวลานานมากพอสมควร เพราะจะต้องติดตามอยู่อย่างสม่ำเสมอถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการอธิบายถึงสาเหตุการเกิดขึ้น โดยจำแนกออกเป็น 2 ประการ คือ 1. ปัญหาเกี่ยวกับรูปธรรม คือ ปัญหาที่สามารถมองเห็นจบต้องได้โดยประสาทสัมผัส 2. ปัญหาเกี่ยวกับนามธรรม นั้น ได้มุ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยรวมเรียกว่ามโนธรรมสำนึกนั้นเอง
References
ภาษาไทย
กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญาประสาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสอง ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2562). ปรัชญาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจักขณา (ผู้แปล). (2019). แก่งปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สมิต.
วิทย์ วิศทเวทย์ (ผู้แปล). (2521). ปรัชญาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
จำนง ทองประเสริฐ. (2533). ปรัชญาตะวันตก สมัยโบราณ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาฯ.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2559). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สยาปริทัศน์.
ปกรณ์ สิงห์สุริย, เวทิน ชาติกุล, พุฒวิทย์ บุนนาค, ปิยฤดี ไชยพร, วุฒิ เลิศสุขประเสริฐ, & เจิด บรรดาศักดิ์ (ผู้แปล). (2012). 20 คำถามสำคัญของปรัชญา: The Big Questions Philosophy. กรุงเทพฯ: มติชน.
เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ปรัชญาจิตวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Adams, H. (1992). Critical theory since Plato. Orlando, FL.
Conford, F. M. (1967). Principium Sapientiae. London: Oxford University Press.
Harris, R., & Taylor, L. (1999). Landmarks in linguistic thought. London: Routledge.
Kneale, W. (1962). The development of logic. Oxford: Clarendon Press.
McKirahan, R. (1998). Routledge Encyclopedia of Philosophy. London: Routledge.
Sellars, W. (1974). Essays in philosophy and its history. Boston: Riedel Publishing Co.
Widdowson, H. Q. (1996). Linguistics. London: Oxford University Press.
Frankford, H., & Others. (1967). Before philosophy. Baltimore: Penguin Books.
Detienne, M. (1996). The masters of truth in archaic Greece. New York: Zone Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.