การตีความสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ชุมพล ชนะนนท์ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สัจจะ, ความสุขแท้, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

ในทางปรัชญา สัจจะ หมายถึง ภาวะของความจริง ภาวะของความจริงสะท้อนผ่านการรับรู้ของมนุษย์ออกมาเป็นกระบวนทรรศน์หรือปรัชญาของแต่ละบุคคล มนุษย์แต่ละคนเห็นสัจจะเป็นเช่นไรก็ตีความเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองไปตามสัจจะที่ตนเห็น และมีเป้าหมายของชีวิตคือความสุขแท้ตามแต่ละบุคคลเข้าใจจากการตีความสัจจะที่ต่างกัน ทำให้มนุษย์มีการผลักดันและขับเคลื่อนรูปแบบของชีวิตที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะดำรงชีวิตในสังคมรูปแบบเดียวกันก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน การตีความสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา ได้แก่ วิภาษวิธีเพื่อแลกเปลี่ยนเหตุผลระหว่างสองฝ่ายคือฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญานวยุคและฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง กระบวนการคิดไตร่ตรองเพื่อแสดงเหตุผลเชิงวิพากษ์ และประเมินคุณค่า ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามให้เหตุผลสนับสนุนไว้เพื่อพิสูจน์ว่า สัจจะต้องตีความจากระบบเครือข่ายของนวยุคภาพถึงจะถูกต้องตามความเป็นจริง เหตุผลฝ่ายตรงข้ามดูเหมือนว่า สัจจะต้องตีความจากระบบเครือข่ายของนวยุคภาพเท่านั้น เพราะระบบเครือข่ายของนวยุคภาพมีความน่าเชื่อถือและเป็นความจริงสากล แต่ผู้วิจัยกลับมีความคิดเห็นตรงกันข้ามว่า การตีความดังกล่าวยังมีจุดอ่อนที่สามารถโต้แย้งได้ การตีความสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ได้จำกัดอยู่ที่ระบบเครือข่ายของนวยุคภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะข้อสรุปดังกล่าวเกิดจากการตีความที่ละเลยในเรื่องคุณค่าของสัจจะในระดับปัจเจกและสิ่งอื่นที่อยู่นอกระบบเครือข่าย ไม่สอดคล้องกับความจริงของชีวิตที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งเป็นหลักสำคัญของปรัชญาหลังนวยุค โดยเฉพาะในเรื่องของพลังสร้างสรรค์ กล่าวคือ ความรู้สากลที่เป็นระบบเครือข่ายที่นวยุคภาพกล้าวอ้างนั้นล้วนมาจากพลังสร้างสรรค์ที่มาจากผู้คิดนอกกฎนอกกรอบระบบเครือข่ายแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมานวยุคเองมักปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ สรุปได้ว่า แม้สัจจะที่แต่ละบุคคลค้นพบจะขัดแย้งกับระบบเครือข่าย หากได้เสริมสร้างวิจารณญาณให้กับผู้ตีความอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมทั้งให้ใช้พลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา เพื่อสามารถเข้าถึงความสุขแท้ของชีวิตในแต่ละช่วง ย่อมสามารถยอมรับได้ว่าเป็นสัจจะที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้

References

กีรติ บุญเจือ. (2545ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

เมธา หริมเทพาธิป, กีรติ บุญเจือ และพระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2558). เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิชาการรมยสาร. 13(3): 69-78.

รวิช ตาแก้ว. (2561). Moderate post-modern principle. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564 จาก https://philosophy-suansunandha.com/2018/05/23/postmodern-principle

__________. (2562). goodness-beautiful-life. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564 จาก https://philosophy-suansunandha.com/2019/06/18/goodness-beautiful-life

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). โลกทัศน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564 จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=โลกทัศน์-๑๐-กรกฎาคม-๒๕๕๐

สุดารัตน์ น้อยแรม. (2557). Authentic happiness. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564 จาก https://philosophy-suansunandha.com/2014/07/08/ความสุขแท้

สิริกร อมฤตวาริน. (2565). Sufficient Life. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปิเปส

Dilthey, W. (1976). Selected Writing. Cambridge: Cambridge University Press.

Jones, W.T. (1969). A History of Western Philosophy. New York : Harcourt Brace.

Peter Halfpenny. (1982). Positivism and sociology : explaining social life. London: George Allen & Unwin.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024