การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยายุคโควิค 19

ผู้แต่ง

  • ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดำเนินชีวิต, พุทธจิตวิทยา, ยุคโควิค 19

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการนำหลักพุทธจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับชีวิตเพื่อให้ปรับตัวต่อการดำรงชีวิตในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ทั้งทางด้านร่างและจิตใจให้พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตช่วงวิกฤติ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย การเสียชีวิต รายได้ของประชาชนลดลงซึ่งเกิดจากการว่างงานและการลดเวลาทำงาน อันเป็นผลมาจากมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะมุ่งแก้ปัญหาและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด 19)

ในสถานการณ์เช่นนี้ทำให้ความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนลดลง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้วิกฤตการณ์เช่นนี้ให้เป็นโอกาสได้ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจิตวิทยาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตใหม่ ที่จะสามารถประคับประคองดูแลตนเองได้อย่างอยู่รอดปลอดภัยและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การนำหลักพุทธจิตวิทยา เช่น หลักปธาน 4 มาเป็นวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคทางกายและโรคทางใจ ช่วยให้อยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างเป็นปกติสุข

คำสำคัญ: การดำเนินชีวิต พุทธจิตวิทยา   ยุคโควิค 19

References

กานต์รวี ดาวเรือง. (2558). ทักษะชีวิตและการวางแผนการดําเนินชีวิตของเด็กและเยาวชน(ชาย) หลังออกจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ไทยรัฐออนไลน์, มรรค 8 รับมือโควิด-19 อย่างรู้เท่าทัน. สืบค้นวันที่ 27 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1806099

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2564). โควิทกถา: กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชิง จำกัด (มหาชน).

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2543). จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2553). ทักษะชีวิต. สืบค้นวันที่16 ตุลาคม 2564, จากhttps://sites.google.com/site/karphathnathaksachiwit1/home

ราชบัณฑิตยสถาน .(2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

โรงพยาบาศิครินทร์. (2564). Covid-19 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง. สืบค้นวันที่24 ตุลาคม 2564,จาก https://www.sikarin.com/health/covid19-สายพันธุ์อันตรายในไทย

เริงชัย หมื่นชนะ. (2558). ระบบและทฤษฎีพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2(1),71-74.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 43). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.การพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อสุขภาพและสังคม.สืบค้นวันที่ 24 ตุลาคม 2564. จาก https://sites.google.com/site/karphathna thaksa chiwit12/kar-phathna-thaksa-chiwit.

อาร์ม ตั้งนิรันดร,ดร. (2563). นักวิชาการจุฬาฯ เสนอแนวทางรับมือ New Normal ภายหลังวิกฤตโควิด-19.สืบค้น 23กันยายน 2564.จากttps://www.chula.ac.th/news/30432/

Luke Wayne Henderson, Tess Knight & Ben Richardson. (2013). An exploration of the well-being benefits of hedonic and eudaimonic behaviour. The Journal of Positive Psychology. 8(4), 322-336.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024