ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชน ในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระวิชัย วิชโย (พลโยธา) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การปกครอง, เจ้าอาวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 13,253 คนโดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่  และค่าเอฟ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.79) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณลักษณะ ( =3.81) ด้านตามสถานการณ์ ( =3.79) ด้านการเปลี่ยนแปลง ( =3.79) และด้านพฤติกรรม ( =3.76) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

3. ผลการนำเสนอภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า 1. ด้านคุณลักษณะ ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่ดีที่พึงประสงค์ คือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รอบรู้พระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง เป็นผู้ที่มีความอดทนสูง มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีรูปร่างสมบูรณ์สมส่วน และมีบุคลิกดี 2. ภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมทางการปกครองของเจ้าอาวาส เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำอีกประการหนึ่งในการปกครอง เพราะถือว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ผู้ตามจะนำไปยึดถือปฏิบัติ หากผู้นำมีพฤติกรรมหรือประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดี ก็จะส่งผลให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติดีตามไปด้วย 3. ด้านตามสถานการณ์ ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาส เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กรและชุมชนนั้นๆ กล่าวคือ ผู้นำต้องมีไหวพริบปฏิภาณปรับเปลี่ยนวิธีการในการปกครองบริหารจัดการไปตามสถานการณ์ได้อย่างกลมกลืน สามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า มีการวางแผนเป็นลำดับขั้นตอนแสดงออกถึงความมีภาวะผู้นำเพื่อรับมือและแก้ไขได้ในทุกๆ สถานการณ์ 4. ด้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองและบริหารจัดการด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ทันสมัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา เป็นแบบอย่างความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ ผู้นำต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจนและทำได้จริง

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมการศาสนา. (2541). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฎกสมันต

ปาสาทิกา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505”. (2505). ราชกิจจานุเบกษา 79 ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ. ธันวาคม 2505.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระราชพุทธิญาณวงศ์. (2540). คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาธรการพิมพ์.

พระราชชัยสิทธิสุนทร (ฉวี มหทฺธโน). (2565). “เรื่องปลดพระสังฆาธิการออกจากตำแหน่งเจ้าคณะตำบล”. คำสั่งเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ที่ 3/2565. ชัยภูมิ : สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ.

พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส. (2555). “ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน”. สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการจัดการเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ผ่านช่องทางต่างๆ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 รอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2561-มิถุนายน 2562), [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.oic.go.th/FILE WEB/CABINFOCENTER52/DRAWER096/GENERAL/DATA0000/0000 0182.PFD, [24 พฤษภาคม 2565].

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023