การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชน ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การบูรณาการหลักพุทธธรรม, การปกครองท้องที่, ผู้นำชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 99,910 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับการการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.96) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ( =4.04) ด้านหลักความโปร่งใส ( =3.98) ด้านหลักคุณธรรม ( =3.97) ด้านหลักความรับผิดชอบ ( =3.97) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( =3.91) และด้านหลักความคุ้มค่า ( =3.90) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ผลการนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม คือ สาราณียธรรม 6 ประการ พบว่า 1) ด้านหลักนิติธรรม ผู้นำต้องมีความต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย เคารพกฎกติกาของชุมชน ต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน 2) ด้านหลักคุณธรรม ผู้นำควรยึดมั่นในคุณธรรมความดีงาม มีคุณธรรมประจำใจ ยึดมั่นในความถูกต้อง มีความจริงใจต่อประชาชน และสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมได้ยึดถือปฏิบัติตาม 3) ด้านหลักความโปร่งใส ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้นำต้องรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ควรมีส่วนร่วมต่อการรับผิดชอบต่อผลงานที่ทำและภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม ต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า ผู้นำต้องตระหนักว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ในการบริหารจำเป็นจะต้องประหยัด ต้องคำนึกถึงความคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ควรรณรงค์ให้บุคลากรรู้จักความประหยัด
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไททัศน์ มาลา. (2559). การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน).
นิยม พัฒนศรี และคณะ. (2564). บทบาทการพัฒนาท้องที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน).
พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว). (2562). จริยธรรม : ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการ
ในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2556). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรายุทธ์ หอมจันทร์. (2563. ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.