วิเคราะห์แบบในการใช้เหตุผลจากคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิบูลย์พัฒนประสุต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

การใช้เหตุผล, ธรรมบท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนาและวิเคราะห์การใช้เหตุผลในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทโดยวิเคราะห์จากการใช้เหตุผลจากธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลี ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า รูปแบบของการใช้เหตุผลทั่วไปนั้นมี 2 รูปแบบ คือ การใช้เหตุผลแบบนิรนัย และการใช้เหตุผลแบบอุปนัย ส่วนการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนามีทั้งการใช้เหตุผลแบบนิรนัยและแบบอุปนัย นอกจากนี้การใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนายังมีการใช้เหตุผลในระดับโลกียะและโลกุตระ การใช้เหตุผลในอรรถกถาธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลีเป็นการใช้เหตุผลแบบอุปนัยซึ่งหลักการใช้เหตุผลแบบอุปนัย เริ่มจากหลักความจริงเฉพาะอย่าง นำไปสู่หลักความจริงสากล หรือหาความจริงจากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่ จากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มเพื่อต้องการทราบภาพรวมของกลุ่มใหญ่ เช่น เราต้องการรู้ว่า “การร้องให้ถึงคนทั้งหมดที่ตายและถูกฝังศพไปแล้วจะไม่ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ จริงหรือไม่” จากการเฝ้าสังเกตเห็นการร้องให้ถึงคนตายที่ถูกฝังศพไปแล้วของคนจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฏเห็นว่าคนตายที่ถูกฝังศพไปแล้วฟื้นคืนชีพได้เลย เป็นการแสดงให้เห็นว่า “การร้องให้ถึงคนทั้งหมดที่ตายและถูกฝังศพไปแล้วจะไม่ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นเรื่องจริง”

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2538). ตรรกศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2550). การใช้เหตุผล : ตรรกวิทยาเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

เอ็ม.เจ.ฮาร์มอน. (มปป.). ความคิดทางการเมืองจากเปลโต้ถึงปัจจุบัน. แปลโดย เสน่ห์ จามริก.กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023