การมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุจิตรา สงวนศิลป์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, นักการเมืองท้องถิ่น, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลัก อปริหานิยธรรม 7 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในอำเภอเมืองชัยภูมิ จำนวน 137,400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)

 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.05) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการตรวจสอบการทำงาน และด้านการติดตามข่าวสาร (𝑥̅ =4.05) และด้านการบริหาร (𝑥̅ =4.04) ด้านการกำหนดนโยบาย (𝑥̅ =4.04) ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

3. ผลการนำเสนอการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม พบว่า ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์ นักการเมืองท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการประชุม เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านการพร้อมเพรียงกันประชุม นักการเมืองท้องถิ่นไม่ละทิ้งการประชุม เข้าร่วมประชุมตรงเวลา และร่วมกิจกรรมเสมอ ด้านการไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกบัญญัติตามอำเภอใจ นักการเมืองท้องถิ่นยินดี ให้ความสำคัญ และส่งเสริมประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา นักการเมืองท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันหมั่นเพียร เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสตรี นักการเมืองท้องถิ่นปฏิบัติต่อสตรีอย่างให้เกียรติ เท่าเทียม เสมอภาค ไม่กดขี่ ข่มเหง ปกป้องจากอันตราย และให้โอกาสมีส่วนร่วมทำงาน ด้านสักการะ เคารพนับถือ บูชาต่อปูชนียสถานทั้งหลาย นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนร่วมดูแลความสะอาดวัด รวมถึงร่วมรักษาวัฒนธรรมอันดี ในการจัดงานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในสถานการณ์โควิด-๑๙ ด้านการให้การอารักขา คุ้มครอง ป้องกันโดยธรรมแก่นักบวชทั้งหลายเป็นอย่างดี นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคณะสงฆ์ ประสานงาน ดูแลเมื่อคณะสงฆ์ติดเชื้อ และป้องกันคณะสงฆ์จากสถานการณ์โควิด-19

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร และคณะ. (2564). ทัศนคติของเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาต่อนโยบายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2(1), 23.

ชูศักดิ์ ชูช่วย. (2533). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาชนบท ตามการรับรู้ของผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ในหมู่บ้านพัฒนาดีเด่นและหมู่บ้านทั่วไป ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลัยพร รัตนเศรษฐ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2564). บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด 19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(2), 71-87.

สมชาย ปรีชากุล. (2564). การเมืองของรัฐไทยในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารพัฒนศาสตร์. 4(1), 2.

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023