การกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การกล่อมเกลา, การกล่อมเกลาทางการเมือง, หลักสังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุ 4
ผลการวิจัย พบว่า
หลักธรรม คือสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลและประสานหมู่ชนไว้ในความสมานสามัคคี เกิดจากการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทุกคนและทุกสังคม เป็นรากฐานแห่งการแบ่งปันผลประโยชน์ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าแก่ตนและสังคม สังคหวัตถุมี 4 ได้แก่ 1) ทาน หมายถึงการให้ หรือการเผยแพร่ความรู้ในการทางการเมือง เพื่อประโยชน์แก่บุคคล อื่น ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว 2) ปิยวาจา หมายถึงการพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบ คายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3) อัตถจริยา หมายถึงการ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4) สมานัตตตา หมายถึงการวางตนสม่ำเสมอ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย
References
จันทรานุช มหากาญจนะ. (2560). การเมืองเปรียบเทียบ. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์รัตนไตร.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. 2531. รัฐศาสตร์เชิงประจักษ์. กรุงเทพมหานคร : ธนวิชช์การพิมพ์.
สุรพล นิติไกรพจน์. 2548. รวมกฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก.
Yamane Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.