การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนา, หลักอปริหานิยธรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 344 คน สุ่มตัวอย่างตามวิธีการของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศและอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ แตกต่างกัน มีส่วนรวมในการพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม 1) การตัดสินใจ วันทำงานไม่ตรงกัน เสียงประชาสัมพันธ์ไม่ค่อยได้ยินเสียง 2) การดำเนินงาน ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่น้อย 3) การรับผลประโยชน์ ชุมชนของบประมาณจะไม่ค่อยได้รับผล เลยทำให้บางชุมชนไม่ได้รับการอนุมัติให้เกิดการพัฒนา 4) การประเมินผล ประชาชนขาดความร่วมมือ ไม่มีความรู้เรื่องแผนพัฒนา
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 1-3.
กิตติชัย สินคง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตาบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 26 ฉบับที่ 50 มกราคม-เมษายน. 171.
ชัยฤทธิ์ เบญญากาจ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการพัฒนาตำบลตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทรงกรด ไกรกังวาร. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตาบลแสนสุข อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปทิดา ปานเนตรแก้ว. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตาบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พาณี เรียงทอง และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัสสุรีย์ คูณกลาง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยของแก่น.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2562). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภชัย ตรีทศ. (2559). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการวางแผนพัฒนาเทศบาลเมืองชลบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสริมพงษ์ อยู่โต. (2561). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตบางคอแหลมกรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.