การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ผู้สูงอายุ, ภาวนา 4บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย คือ (= 4.36, S.D. = 0.646) และเมื่อพิจารณเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปัญญาภาวนา (= 4.39, S.D. = 0.654) รองลงมาคือ ด้านสีลภาวนา (= 4.38, S.D. = 0.615) ด้านกายภาวนา (= 4.37, S.D. = 0.670) และ ด้านจิตภาวนา (= 4.31, S.D. = 0.645) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก 0.962 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตภาวนา, ด้านปัญญาภาวนา, และด้านสีลภาวนา, ด้านกายภาวนา มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูง
References
กุลวรา พิมใจใส. (2563). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัยส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาชีวิตและความตาย, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. หน้า 86-90.
ชลธิชา จิรภัคพงค์ และคณะ. (2563). สุขภาวะพระสงฆ์ : การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนว วิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. หน้า 82-88.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 84-95.
ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา. หน้า 80-82.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง และนัทนิชา หาสุนทรี. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน). หน้า 122-134.
เสาวนีย์ ฤดี. (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ: กรณีศึกษาผู้ป่วยคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลราชวิถี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาชีวิตและความตาย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. หน้า 134-152.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศ ไทย พ.ศ.2564. สืบค้น 25 มิถุนายน 2564. จาก http://www.nso.go.th/summary_excusive_64.
อนุกูล บุญรักษา. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 89-90.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า 78-84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.