ปริสุทธิศีลหลักปฎิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของภิกษุในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูนิมิตรัตนตนาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปาริสุทธิศีล, ความหมดจด, ศีล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปาริสุทธิศีล 4 ประการ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับศีลในหลายระดับทั้งระดับเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับสูง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงศีลไว้อย่างชัดเจนและให้ความสำคัญกับปาริสุทธิศีลซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งศีลของพระภิกษุและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา ปาริสุทธิศีลประกอบด้วย ปาติโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปริสุทธิศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลทั้ง 4 ประการนี้ครอบคลุมหลักปฏิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของภิกษุในพระพุทธศาสนา สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามปาริสุทธิศีลบรรลุถึงความหมดจดและบริสุทธิ์ของศีลได้

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2539.

ธรรมปราโมทย์. (2435). บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง คู่มือสำหรับพระแท้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: ลิเบอร์ตี่ เพรส.

ปัญญา ใช้บางยาง. (2548). ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ). (2550). คําบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน.กรุงเทพ: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จํากัด.

พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ บริษัทธนาเพรส จำกัด.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2523). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023