การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของของประชาชน ในตำบล บางแค จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ขจีรัตน์ พุ่มพฤกษ์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจพอเพียง, การประยุกต์ใช้, การดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของของประชาชนในตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของของประชาชนในตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ขนาดตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ 350 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.1) ส่วนเพศชาย (ร้อยละ 38.9) ดังตารางที่ 4.1 และมีอายุเฉลี่ย 54.51 ปี ด้านการออมเงิน (จำนวนเงินออมคงเหลือในสมุดบัญชีเงินฝาก) ส่วนใหญ่มีเงินออม (ร้อยละ 68.9) ไม่มีเงินออม (ร้อยละ 31.1) การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.25 ; S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับการประยุกต์ใช้สูงที่สุดคือ ด้านคุณธรรมในการดำเนินชีวิต (  = 4.29 ; S.D. = 0.63) รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต (  = 4.26 ; S.D. = 0.65) ด้านความรู้ในการดำเนินชีวิต (  = 4.25 ; S.D. = 0.63) และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากันคือ ความพอประมาณในการดำเนินชีวิต (  = 4.24 ; S.D. = 0.65)   และลำดับสุดท้ายคือ ด้านระบบภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต (  =4.24 ; S.D. = 0.64)

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2541). “เศรษฐกิจพึ่งตนเอง” แนวความคิดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

กาญจนา แก้วเพท และกนกศักดิ์ แก้วเพท. (2530). การพึ่งตนเอง : ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. กรุงเทพฯ : สภาคาทอลิกแหํงประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียงในหลักคิด “พอเพียง”. สำนักพิมพ์มติชน.

กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยง. 2546. กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ:

คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, สำนักงาน กปร. (2547). อันเนื่องมาจากพระราชดาริ. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์.

คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง : ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดารงชีวิต. กรุงเทพฯ : ทำเนียบรัฐบาล.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554).

คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแหํงชาติ. (2547). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : มปท.

ชัยพร วิชชาวุธ. (2526). มูลสารจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีณา กองฤทธิ์. (2550) . ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรม ผู้บริโภคในเขตจตุจักรและเขตบางเขน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ,ดร. (2551). คลังหลวงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: บริษัท เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.

ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและศีลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ๎าน.

ปวัน มีนรักษ์เรืองเดช. (2549). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ของประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดาริ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประนอม สรรชมาน. (2524). จิตวิทยาทั่วไปเล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสรี พงศ์พิศ,ดร. เศรษฐกิจพอเพียง : การขยายความนาสู่การปฏิบัติ. 18 March 2007. จาก http://www.phongphit.com

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2541). กปร. การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริ. กรุงเทพฯ.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงคือราบกฐานของประเทศ. สยามรัฐ 5 -10 ธันวาคม.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมทาตามรอบยุคบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดำนสุทธาการพิมพ์.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน. (2555). http://oppy.opp.go.th/about/05.html

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024