การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ ตามลำดับ
ผลการวิจัย พบว่า
การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความพอประมาณ รองลงมาคือด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงื่อนไขความรู้
ผลการเปรียบเทียบการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพต่างกัน มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนวทาง ในการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น ควรจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รู้รายรับ รายจ่ายของครอบครัวและเก็บออมรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามจำเป็น
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). แผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2551-2554. กรุงเทพฯ:
รำไทยเพรส.
จำรัส โคตะยันต์. (2553). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” กรณีศึกษาหมู่บ้านก้างปลา ตำบลหนองไผ่ อำเภอวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. ทิศทางไทย, 1(5), 1-10.
ชุมโชค พลสมัคร. (2560). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางประชาสังคม : แนวพลิกฟื้นเศรษฐกิจ สังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
พันธุ์บุณย์ ทองสังข์. (2549). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับกลยุทธ์การจัดการองค์การในสภาวะวิกฤติ กรณีศึกษา: ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท. สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อาธิป ปัญญาประเสริฐ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงานของบุคลากร : กรณีศึกษากรมศุลกากร. [รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง].
อานนตรี ประสมสุข. (2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของปราชญ์ชาวบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), 355-368.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.