การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ภูวนาฐ ประถมพานิชย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • พิชัยรัฐ หมื่นด้วง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, องค์การบริหารส่วนตำบล, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ปัจจัยส่วนบุคคล โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

          ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.90) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 4.28) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ (= 4.13) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล (= 3.58) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน ควรมีการดำเนินการสำรวจปัญหา ความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน

References

กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล. กรณีศึกษา: ตำบลนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์การ บริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิติพงษ์ พงศ์วิทยเวคิน. (2551) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.

มัทนา วัชรวรพิพัฒน์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุทัยวรรณ ลิมปชยาพร. (2551). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวศึกษาเฉพาะกรณีบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Maslow, Abrahum H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed., New York: Harper and Row.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed.New York.Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023