การกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • จิรานุวัฒน์ ศรีนุกูล คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การกระทำผิดวินัย, ผู้ต้องขังชาย, เรือนจำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังเพศชาย ที่อยู่ในเรือนจำจังหวัดหนองคาย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ F - test สำหรับเปรียบเทียบการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคายที่จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ

ผลการวิจัย พบว่า การกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.45) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดวินัย (μ = 3.63) รองลงมาคือด้านการคบเพื่อน (μ = 3.46) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเครียด (μ = 3.38) ผลการเปรียบเทียบการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ โดยภาพรวม พบว่าผู้ต้องขังที่มีอายุ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ ต่างกันมีการกระทำผิดวินัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ต้องขังที่มีระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว ต่างกันมีการกระทำผิดวินัยไม่แตกต่างกัน

References

กรมราชทัณฑ์ กองการเจ้าหน้าที่. (2562). รายงานข้อมูลอัตรากำลังของบุคลากรกรมราชทัณฑ์ประจำปี พ.ศ. 2562. นททบุรี: กรมราชทัณฑ์ กองการเจ้าหน้าที่.

กรมราชทัณฑ์ สำนักทัณฑวิทยา. (2558). คู่มือการตรวจค้น. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์ สำนักทัณฑวิทยา.

นัทธี จิตสว่าง และสมุนทิพย์ ใจเหล็ก. (2542). การกระทำผิดซ้ำผู้ต้องขังคดียาเสพติด. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วันเพ็ญ กูเปี้ย. (2548). การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครปฐม.5 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา. (2548). เบื้องหลังชีวิตของอาชญากรมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์จำกัด.

อัคคกร ไชยพงษ์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. สุราษฎร์ธานี: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อุษา คงคลาย. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: translating strategy in action. Boston: Harvard Business School Publishing Corporation.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023