การกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุริยะ นาตรีชน คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การกระทำผิด, ผู้ต้องขังคดียาเสพติด, เรือนจำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษเรือนจำจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังชายคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษเรือนจำจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (μ = 2.77) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือปัจจัยด้านโอกาสในการกระทำผิด (μ = 2.91) รองลงมาคือปัจจัยด้านการควบคุมตนเอง (μ = 2.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม (μ = 2.68) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีปัจจัยการกระทำผิดไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดของผู้ต้องขังชาย ในคดียาเสพติดที่มีปริมาณของกลางเป็นจำนวนมากและมีอัตราโทษสูง ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปลูกจิตสำนึกในเรื่องภัยของยาเสพติดตั้งแต่เด็ก และควรให้โอกาสทางสังคมแก่ผู้เสพยาเสพติดให้โอกาสในการกลับตัวกลับใจ

References

เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ และคณะ. (2558). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดและการพัฒนาคุณภาพชีวิต. เอกสารวิจัย, สำนักงาน ป.ป.ส.

กรมราชทัณฑ์. (2560). คู่มือหลักสูตรการพัฒนาพฤตินิสัย. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

กรมราชทัณฑ์. (2562). รายงานการตรวจเยี่ยมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและมอบนโยบายให้กรมราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

ชวลิต กลิ่นแข และคณะ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำของจังหวัด แม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.

นริศรา พลอยเพ็ชร์. (2558). การประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 53-70.

วีระชัย เหล่าลงอินทร์, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ, สุวกิจ ศรีปัดถา, และพัชนี บูระพันธ์. (2552). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม, 3(1).107 – 115.

ศรันยา สีมา. (2563). ผู้ต้องขังล้นเรือนจำ. สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: translating strategy in action. Boston: Harvard Business School Publishing Corporation.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023