การเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ผู้ต้องขัง, เรือนจำหนองคายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ
ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.95) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย (μ = 4.04) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคม (μ = 3.97) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านจิตใจ (μ = 3.91) ผลการเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพและอาชีพ โดยภาพรวมผู้ต้องขังเรือนจำหนองคายที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษของเรือนจำหนองคาย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดหนองคายที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษของเรือนจำหนองคาย ไม่แตกต่างกัน
References
กรมราชทัณฑ์ กองการเจ้าหน้าที่. (2564). รายงานข้อมูลอัตรากำลังของบุคลากรกรมราชทัณฑ์ ประจำปี พ.ศ. 2564. นททบุรี: กรมราชทัณฑ์ กองการเจ้าหน้าที่.
กรมราชทัณฑ์, กองบริการทางการแพทย์, (ม.ป.ป.). คู่มือหลักสูตรการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติดก่อน พ้นโทษในเรือนจำ/ทัณฑสถาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.
กรมราชทัณฑ์ สำนักทัณฑวิทยา. (2558). คู่มือการตรวจค้น. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์ สำนักทัณฑวิทยา.
มณฑล ขันกสิกรรม. (2554). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถาน เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสน ศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพชรรัตน์ อิงคสารมณ. (2551). ปัญหาในการปฏิบัติงานตามโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เรือนจำจังหวัดหนองคาย. (2564). ข้อมูลทั่วไป. เรือนจำจังหวัดหนองคาย
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2551). การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการนำมาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้ เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกในการลงโทษผู้กระทำผิดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ. ม.ป.ท.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.