การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมพร หลุงเจริญ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศานศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, เทศบาล, ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารที่ใช้หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษามาตรการการป้องกันการทุจริตในเทศบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย และ (3) เพื่อค้นหารูปแบบของการบริหารที่ใช้หลักธรรมาภิบาลที่พึงประสงค์

          การวิจัยนี้มีคุณลักษณะป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ต้องการได้มาจาก 3 แหล่ง คือ (1) เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม  และ (3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 ท่าน เกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ปรากฏว่า พวกเขาทั้งหมดมีความรู้และประสบการณ์ต่างๆ อย่างมากเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และการบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือนี้ใช้เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ผู้วิจัยได้ให้การรับรองในเรื่องความเป็นส่วนตัว ความลับและการไม่เปิดเผยชื่อของผู้ให้ข้อมูล ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บรวบรวมได้ ได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธีการบรรยายความและแบบอุปนัย

          ข้อค้นพบจากการวิจัย (1) เกี่ยวกับสภาวการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจหลักการของธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง “ความโปร่งใส” และ “การมีส่วนร่วมของประชาชน”  (2) เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการกระทำที่ทุจริต พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายที่ชัดเจนและระเบียบวิธีปฏิบัติที่กล่าวระบุไว้อย่างแจ่มชัด มีการสร้างระเบียบวิธีปฏิบัติที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องหลักจริยธรรมและให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อการประพฤติปฏิบัติของตน ตลอดจนมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมการบริหารต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เกี่ยวกับรูปแบบของการบริหารที่อิงหลักธรรมาภิบาลที่พึงประสงค์ พบว่า รูปแบบของการบริหารควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ 1) การบริหารที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง 2) การบริหารจัดการความรู้ของชุมชน 3) การใช้ผู้นำที่มีความเก่งกล้าสามารถจริงๆ บริหาร และ 4)  การตั้งมาตรฐานในการปฏิบัติงานไว้ในระดับสูง

References

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จุมพล หนิมพานิช. (2548). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ หลักการ แนวคิดและกรณีตัวอย่างของไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชูวงศ์ ฉายะบุตร, (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิฆเกณศพริ้นติ้ง เซนเตอร์ จำกัด.

ณัฐรัฐ วิฒนพานิช. (2550). รูปแบบการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับบุคลากรกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2550). ความสามารถการหารายได้ของเทศบาลและ อบต. ทบทวนทฤษฎีและ การศึกษาเชิงประจักษ์. ค้นเมื่อ 3 เมษายน, 2559 จาก http://isc.ru.ac.th/data/PS0003283.doc.

ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2546). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและองค์กรอิสระ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) และสถาบันพระปกเกล้า.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). สามประสานในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในนานาสาระจากรวมพลังเพื่อการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

นพพล สุรนัคครินทร์. (2547). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2543). คอร์รัปชั่นในวงราชการ: กรณีศึกษาและยุทธศาสตร์การต่อด้าน คอร์รัปชั่นในเชิงเศรษฐศาสตร์, ใน รายงานการวิจัยคอร์รัปชั่นในประเทศไทย. สำนักงาน ก.พ.

นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ. (2544). การทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานราชการของไทย : กรณีศึกษากระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร). รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะทํางาน ติดตามและศึกษาปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1.

สุดาภรณ์ คำมุกชิก. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอ โนนะสะอาด จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก.

สมศักดิ์ คงเที่ยงและอัญชลีโพธิ์ ทอง. (2550). เอกสารการบรรยายกระบวนวิชา EA 733 การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สายันต์ แสงสุริยันต์. (2550). ประโยชน์ของการจัดการความรู้. การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ [Online]. Avaliable : https://portal,in,th/inno-sayan/pages/1139 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558].

อลัมพล เจียมศรีพงษ์. (2554). การบริหารงานตาม : Palgrave. มปท.

Holbeche, L. (2006). HR and the high performance organizations. Strategic HR Review. 5(2).

Hughes, Owen E. (2003). Public management and administration: An introduction. (3rd ed.) New York: Palgrave Macmillan.

Jessop, B. (2003). “From The KWNS to the SWPR.” In Rethinking Social Policy. Edited by Gail Lewis, Sharon Gewirtz, and Jogn Clark. London: SAGE Publications, 2003.

Jolle Demmer, Alex E. Fernández Jilberto and Barbara Hogenboom. (2004). Good Governance in the Era of Global Neoliberalism : Conflict and depolitsation in Latin America, Eastern Europe, Asia and Africa. New York: Routledge.

Jonathan Bostan amd et.al. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Auckland: Oxford University Press.

Kehl, (2010). Issues Related to Language Assessment, Migration and Citizenship.Invited symposium, American Association for Applied Linguistics conference. Washington, DC, March.

Kjare, (2004). The Price of Government: Getting the Results We need in an Age of Permanent. Fiscal Crisis New York: Basic Books.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023