การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสำนักงาน เขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรชัย วิภูอุปรโคตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชลธราธร ภาคำ นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามการประเมินของครู จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน 

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 320 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ประกอบด้วย ครูในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 175 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือ (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงานตามการประเมินของครูจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน  ในภาพรวมไม่แตกต่าง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม : สภาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

ขวัญเรือน โยคะสัย และ สุเทพ เมยไธสง. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 31-45

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.

ณัฐวัชร โตสัจจะ และ จุลดิศ คัญทัพ (2567). กระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 6(1). 28-41.

ธิดารัตน์ วรรณพันธ์. (2563). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ธีระพันธ์ หันทยุง. (2557). การพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมของโรงเรียนนาข่าวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พยุงศรี เย็นเปี่ยม. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดยะลา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พสิษฐ์ อธิษฐ์ธรรมธัช. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุค 4.0. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,9(1): 60-69.

วรชัย วิภูอุปรโคตรและคณะ. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.9(3) กันยายน - ธันวาคม 2564, 14-27.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อนุกูล มามั่งคั่ง และ ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2567). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 16-30.

Joseph Levesque, Martin Lees, & L. Joe Moore. (2011). An analysis of leadership frame

preference of academic administration: Using the Bolman and Deal Four Frame model. Retrieved May 29, 2021, from https://www.proquest.com/openview/74eb41757ecc45b7dff33c3e56176431/1.pdf?pqorigsite=gscholar.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Viphoouparakhot, V. (2024). Enhancing the educational administration experience through ethical leadership of administrators. (Proceeding). The 4th International conference on Education 2024, 24 - 25 February 2024 Chateau de khaoyai hotel & resort pakchong Nakhonratchasima, Thailand. Organized by Education sub-committee of Association of Private Higher Education Institution of Thailand under the Patronage of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn (APHEIT).

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024