ผลการใช้แนวการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พรพิศุทธิ์ วงศ์ปินตา
ผาสุข บุญธรรม
ซิมมี่ อุปรา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผลการใช้
แนวการสอนภาษาแบบองค์รวม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษ
เพื่อสื่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้การวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านถ้ำ ตชด. ในรายวิชาภาษาอังกฤษ (อ.16101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวม
แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
เพื่อสื่อความ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย
พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนแบบองค์รวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ทุกแผนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้โดยมีประสิทธิภาพรวมเท่ากับ 83.69/86.30
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า
มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเป็น 16.13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.65
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเป็น 11.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.15
3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า
มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเป็น 17.57 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 17.57
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเป็น 12.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัสศรี คิวสุวรรณ. (2541). หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ 2541 วิชาภาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ดรรชณี หล่อวัฒนา. (2547). การใช้แนวคิดการเรียนรู้ภาษาแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษา
อังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ไพศาล หวังพานิช. 2533. หลักและวิธีการประเมินโครงการ. วารสารวัดผลการศึกษา, 11(1), 23-38.
รัตนา วาทะวัฒนะ. (2537). ผลของการสอนตามรูปแบบอเมริกาที่มีต่อความเข้าใจการอ่านภาษา
อังกฤษ โครงสร้างความรู้และเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมธยมศึกษา
ปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคทางการวิจัยเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร. (2543). การศึกษากิจกรรมการตอบสนองต่องานเพื่อนในการเขียนภาษา
อังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่. เชียงใหม่.
Anderson, R.C. (1985). Becoming a nation of readers : The report of the commission on
reading. Washington: National Institute of Education.
Heald-Taylor, G. (1989). Whole language strategies for ESL students. San Diego, CA:
Dormac.