การจัดประสบการณ์โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการจับใจความและการพูดสื่อสารของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ลัดดา บุญมาวรรณ
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท
ศิวภรณ์ สองแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบ
เล่าเรื่องซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการจับใจความและการพูดสื่อสารของเด็กปฐมวัย ประชากรที่ใช้ใน
การวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฮ่างต่ำ ปีการศึกษา 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์
โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ แบบทดสอบความสามารถด้านการจับใจความ และแบบทดสอบ
การพูดสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ 
มีค่าเฉลี่ยของความสามารถด้านการจับใจความหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
ร้อยละ 39.22 โดยมีค่าเฉลี่ยของความสามารถด้านการจับใจความหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ 60.00 ที่กำหนดไว้ เท่ากับร้อยละ 30.78 และมีค่าเฉลี่ยของความสามารถด้านการพูดสื่อสารหลังการจัด
ประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ร้อยละ 34.56 โดยมีค่าเฉลี่ยของความสามารถด้านการพูด
สื่อสารหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60.00 ที่กำหนดไว้ เท่ากับร้อยละ 29.67

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี).
กรุงเทพฯ: กรมฯ.
ชิตาพร เอี่ยมสะอาด. (2548). เด็กปฐมวัยกับทักษะทางภาษา. สุราษฎร์ธานี: คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
นงลักษณ์ กันปัญญา. (2549). การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้
หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง หน่วยเที่ยวสวนสะออน. (การศึกษาอิสระการศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
นภเนตร ธรรมบวร. (2549). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิพาพร ธรรมสัตย์. (2555). ความคิดคล่องทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนว
สมดุลภาษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. ปทุมธานี.
มาณวิกา บุญรินทร์. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบรูปภาพที่มีต่อความสามารถ
ในการจับใจความของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านโนนไหล่หนองเลิง จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี.
มานิตา ลีโทชวลิต. (2544). การวิเคราะห์นิทานชาดกที่ส่งเสริมสันติธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
มาลิณี พลสูงเนิน. (2548). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน
โดยการเล่านิทานประกอบหุ่นมือ ชั้นอนุบาลปีที่ 2. (การศึกษาอิสระการศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). คู่มือการอบรมเลี้ยงดูเด็กระดับก่อน
ประถมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
เสริมเกียรติ พรหมผุย. (2544). พัฒนาการและพฤติกรรมวัยเด็ก. มหาสารคาม: ภาควิชาจิตวิทยา
การศึกษาและแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.