ปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้สังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

วุฒิชัย กันสุธรรม
กิตติศักดิ์ นิิวรัตน์
ปรมินทร์ อริเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์อิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง
และทางอ้อมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา
2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 400 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
ครั้งนี้ประกอบด้วยตัวแปรแฝงด้านพฤติกรรม ด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัว
ด้านลักษณะการใช้งาน ด้านเจตคติต่อระบบสังคมออนไลน์ ด้านความรับผิดชอบในการเรียน สถิติที่ใช้ใน
การ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS และ
โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้งานสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เข้าใช้งานสังคมออนไลน์ทุกวัน ช่วงเวลาการใช้งานระหว่าง 08.00 – 12.00 น.
ระยะเวลาที่เข้าใช้งานสังคมออนไลน์ 4-5 ชั่วโมง สถานที่เข้าใช้งานสังคมออนไลน์ตลอดเวลา (ผ่านโทรศัพท์
มือถือหรือสมาร์ทโฟน) บริการสังคมออนไลน์ที่เข้าใช้งาน เฟซบุ๊ก อุปกรณ์ที่เข้าใช้งานสังคมออนไลน์ โทรศัพท์
มือถือ
2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียน พบว่า
เมื่อปรับโมเดลแล้วปรากฏว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์
(χ2) = 55.34 GFI = 0.99 RMR = 0.024 รวมทั้งค่ากราฟ Q-plot มีความชั้นกว่าเส้นทแยงมุม และเมื่อ
พิจารณาค่า R Square ตัวแปรความรับผิดชอบในการเรียนมีค่าเท่ากับ 0.08
3. ตัวแปรด้านลักษณะการใช้งานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความรับผิดชอบในการเรียน
4. ตัวแปรด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัวเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความรับผิดชอบ
ในการเรียน


5. ตัวแปรด้านพฤติกรรมการใช้งานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อความรับผิดชอบ
ในการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ปณิชา นิติพรมงคล. (2555). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.
(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.
วนิดา กันทาแก้ว. (2550). ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค เชาว์อารมณ์ และพฤติกรรมการเรียน
ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2539). แนวทางจัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางคณิตศาสตร์ โครงการอบรมครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีงบประมาณ 2539.
กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุขุมาภรณ์ เอี่ยมสำอาง. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อ
ความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สุทธิพร นิราพาธ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นเกมคอมพิวเตอร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2542). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว = Family therapy and
family counseling. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.