การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทานคุณธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทาน
คุณธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล
สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ด้วยนิทานคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล 3) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทานคุณธรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2557 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 26 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบ
กลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ด้วยนิทานคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดปรนัยแบบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ด้วยนิทานคุณธรรม เก็บข้อมูล โดยใช้การจัดการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ จากนั้นดำเนินการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
แล้วดำเนินการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ฉบับเดิม จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์
ด้วยการใช้สูตร E1/E2 หาประสิทธิภาพแบบฝึก เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนกับหลังเรียน
ด้วยสถิติทดสอบ t-test และหาระดับความพึงพอใจด้วยค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทานคุณธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล สังกัดเทศบาลนครเชียงราย มีประสิทธิภาพ
86.53/85.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทานคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3
ศรีทรายมูล สังกัดเทศบาลนครเชียงราย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยนิทานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จีรัณดา กั้วพิสมัย. (2545). การพัฒนาแผนการสอนการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ณัฐกานต์ เชยบาน. (2554). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลจอมหมอกแก้ว สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). ขั้นตอนการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. เชียงราย:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2551). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัยในชั้นเรียน.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มุทิตา แก้วคำแสน. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่มี
ความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลองวิทยา จังหวัดแพร่.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
เรนุกานต์ พงศ์พิสุทธิกุล. (2552). การสร้างหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
วิไลวรรณ สวัสดิวงศ์. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
สาลิกา รถทอง. (2548). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา) กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
สุนีย์ อุทุมทอง. (2552). ผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ NHT. (การศึกษา
อิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สุวรรณี ศรีอวน. (2553). ผลการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มแบบร่วมมือ NHT. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
เสาวลักษณ์ ตรองจิตร์. (2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.