การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องอิเหนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ

Main Article Content

ศิรินทร์ทิพย์ จงศิริ
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทางการเรียน
วรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบโมเดลซิปปากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบ
หมวกหกใบ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนวิชา
ภาษาไทยระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวก
หกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม อำเภอ
เทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ และ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 38 คน ที่ใช้
กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบหาค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา มีประสิทธิภาพเท่ากับ
86.62/86.63 และการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.65/86.88
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ทั้งสองรูปแบบ
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การสอนแบบหมวกหกใบกับแบบโมเดลซิปปา มีค่า t-test เท่ากับ 1.08 ค่า p = .285 แสดงว่า วิธีสอน
ทั้ง 2 รูปแบบสามารถใช้สอนได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่มีความแตกต่างในคุณภาพการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 2 กลุ่มมีความสามารถไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน
แบบหมวกหกใบกับแบบโมเดลซิปปา มีค่า t-test เท่ากับ 0.227 ซึ่งค่า t-test ดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทาง
สถิติ จึงสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจในวิธีสอนทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
________. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย
ด้านทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ประยงค์ นุชรอด. (2551). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้เทคนิคคำถามหมวกหกใบ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม.