การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD

Main Article Content

บุญโฮม พิมพ์หอม
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
STAD มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
STAD ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
STAD และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกระบวนการจัด
การเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสันทรายงามวิทยา
อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 17 คน ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดและนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 คน ที่ใช้กระบวนการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา
พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 ที่สอน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.27/83.95 และการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.89/83.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
ทั้ง 2 รูปแบบ


2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ
การสอนอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความแตกต่างกัน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดสูงกว่าแบบร่วมมือเทคนิค STAD อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5โรงเรียนสันทรายงามวิทยาอำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแผนผังความคิด โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ใน
ระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.56, S.D. = 0.57) และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
บ้านห้วยไคร้ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD
โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.21, S.D. = 0.75) ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบ
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสันทรายงามวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแผนผังความคิดและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค
STAD ปรากฏว่า มีค่า t-test เท่ากับ 3.89 ซึ่งค่า t-test ดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีสอนแบบแผนผังความคิดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
______ . (2549). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธัญญา ผลอนันต์. (2541). ใช้หัวคิด. กรุงเทพฯ: บูซาน เซนเตอร์.
บุณยภัทร สมเพชร. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังผา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.
สุทธิ เหลืองอรุณ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอน
อ่านจับใจความโดยใช้นิทานอีสปกับนิทานพื้นบ้าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี.