การศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

นพฤทธิ์ ก้อนใจ
ไพรภ รัตนชูวงศ์
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 2) เพื่อหาแนวทางในการบริหาร
ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย
เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 รวมทั้งสิ้น 110 คน และในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่ได้มาทำการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาเชียงราย เขต 3 ตามกรอบทฤษฎีของ Howat and London ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การบริหารความขัดแย้งแบบประนีประนอม รองลงมา
คือ การบริหารความขัดแย้งแบบไกล่เกลี่ย ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การบริหารความขัดแย้งแบบ
บังคับพฤติกรรม การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เมื่อจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งวิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน
ที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบันไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามอายุ ผู้บริหารสถานศึกษามีพฤติกรรมการบริหาร
ความขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา มีช่วงอายุ 31–40 ปี ใช้พฤติกรรมการบริหาร
ความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยงมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีช่วงอายุ 41–50 ปี ใช้พฤติกรรมการบริหาร
ความขัดแย้งแบบประนีประนอมมากที่สุด และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีช่วงอายุ 51 ปี ขึ้นไปใช้พฤติกรรมการบริหาร
ความขัดแย้งแบบไกล่เกลี่ยมากที่สุด พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งที่ผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 3 ช่วงอายุ
ใช้น้อยที่สุด คือ การบริหารความขัดแย้งแบบบังคับ


ลักษณะปัญหาที่ผู้บริหารสถานศึกษาเผชิญ คือ ปัญหาความขัดแย้งทางความรู้สึกและทางความคิด
ลักษณะที่มีความต้องการ จุดหมาย หรือเป้าหมายที่ต่างกัน การทำงานที่ฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่ายหนึ่ง
การขัดผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน การที่ไม่สมหวังตามความต้องการของตนเอง เช่น การพิจารณา
ความดีความชอบ การทำงานที่ต้องแข่งขันกัน เป็นต้น แนวการใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งตามกรอบทฤษฎี
ของ Howat and London ใน 5 แบบ มีดังนี้ 1) แบบเผชิญหน้า ใช้กับปัญหาความขัดแย้งที่ไม่รู้จักจบ
และมีโอกาสที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2) แบบหลีกเลี่ยง ใช้กับปัญหาความขัดแย้งทางความคิดและ
ความรู้สึกที่ต้องอาศัยเวลาเท่านั้นที่จะทำให้แต่ละฝ่ายเข้าใจกันหรือทำให้ความขัดแย้งลดลง 3) แบบบังคับ
ใช้กับปัญหาความขัดแย้งที่มีความยืดเยื้อไม่รู้จักจบและมีผลกระทบด้านลบต่อองค์กรมากขึ้นทุกวัน 4) แบบ
ไกล่เกลี่ย ใช้กับปัญหาหรือความขัดแย้งที่ผู้ร่วมงานมีความคิดหรือเจตคติที่ไม่ตรงกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าว
ไม่มีความรุนแรงมากนักแต่ยังอยู่ในลักษณะกำกวมไม่รู้จักจบ 5) แบบประนีประนอม ใช้กับความขัดแย้ง
ที่ผู้ร่วมงานแต่ละคนหรือแต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นต่างกันและอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่รุนแรง ยังพูดจากันได้
บทเรียนและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาเมื่อเกิดปัญหา
ความขัดแย้งขึ้นในโรงเรียนนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่จะคิดว่าปัญหานั้นไม่มีผลกระทบต่อการบริหารงานมากมาย
แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ก็มีผลกระทบต่อการบริหารงานทั้งนั้น ทั้งนี้ผู้บริหาร
สถานศึกษาควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของความขัดแย้งเสียก่อนแล้วจึงพิจารณาหาแนวทาง
การแก้ไขและจัดการกับความขัดแย้งในหน่วยงานให้หมดไปให้เร็วที่สุด ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทาง
การบริหารความขัดแย้ง ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้ความรู้ในทางทฤษฎีและทักษะ ประสบการณ์
ในการแก้ไขปัญหา ไม่ควรใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาแก้ไขปัญหา ซึ่งในการดำเนินการแก้ปัญหา ผู้บริหาร
สถานศึกษาควรแก้ปัญหาไปตามสภาพและบริบทของปัญหาและสถานที่นั้นๆ โดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์
ในการแก้ปัญหาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
______. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จิระพงศ์ ศุภศรี. (2552). ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี. กรุงเทพฯ.
บรรหาร บุญประเสริฐ. (2545). การศึกษาวิธีแก้ไขความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐ งามพันธุ์. (2546). การบริหารจัดการความขัดแย้ง. วารสารข้าราชการครู, 23(3), 2-5.
ปิยะศักดิ์ ชนะชัย. (2555). การบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่บนพื้นที่สูง
จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
พิพิธ สุวรรณสิงห์. (2550). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อุดรธานี.
มนูญ คงทน. (2545). การศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ฝ่ายวิชาการและส่งเสริมการบริหารการศึกษา. (2556).
บทบาทหน้าที่ผู้บริหารงานวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2556, จาก http://www.des.
rmuti.ac.th/
สมคิด คันมั่ง. (2546). ศึกษาสาเหตุและวิธีจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.
สมเดช ภู่ศรี. (2541). พฤติกรรมของผู้บริหารที่แสดงออกในสถานการณ์ขัดแย้งเกี่ยวกับ
การบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรพล ใคร้วานิช. (2544). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.
อุเทน ทองสวัสดิ์. (2551). การศึกษาความขัดแย้งและวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.
อุษามาศ ระย้าแก้ว. (2538). การศึกษาวิธีแก้ไขความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนผู้ใหญ่สายสามัญ
ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Best, J. and Kahn, J.V. (1993). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Blake, Robert R. and Jane S. Mouton. (1964). The Managerial Grid. Houston: Gulf.