ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน (7E) เพื่อพัฒนาการคิด วิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ 7
ขั้นตอน (7E) เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสามัคคี
วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน (7E) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ
และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน (7E) มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คะแนนเฉลี่ย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน
(5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
การศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ขุนทอง คล้ายทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 และความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มและแบบวัฏจักรการเรียนรู้
7 ขั้น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2549). นวัตกรรมการศึกษาไทย : รูปแบบการเรียนการสอน. ใน นวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา (หน้า 85-88). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสาร
ทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุนันท์ แก้วคุณาการ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ
แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง การแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 สาขาวิชาคณิตศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์.
ธัญชนก โหน่งกดหลด. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 7 ขั้น และการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
กระบวนการคิด. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ไพฑูรย์ หาญเชิงชัย. (2550). ผลการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อทักษะกระบวนทาง
วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่
มีเพศต่างกัน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
ภัสพล เหง้าโคกงาม. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง การขนส่งและการสื่อสาร เจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ระหว่างการสอนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบสมองครบส่วน (สคส.) กับการสอนตามคู่มือครู สสวท.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.