ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ญานิชา จรุงจิตต์
กิตติศักดิ์ นิวรัตน์
ปรมินทร์ อริเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคเหนือตอนบน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแปรภายนอก ประกอบด้วย
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ ตัวแปรภายในประกอบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความพึงพอใจ
ในงาน บรรยากาศองค์การ ประสิทธิผลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน 4 แห่ง จำนวน 546 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้
โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (χ2 = 3.37, df = 14) ซึ่งมีค่าความน่าจะ
เป็นเท่ากับ 0.241 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index : GFI = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับ
ความกลมกลืนปรับแก้ (Adjustd Goodness of Fit Index : AGFI = 0.99) ดัชนีรากฐานของค่าเฉลี่ยกำลัง
สองของส่วนที่เหลือ (Root Mean Squared Residual : RMR = 0.0079) กราฟ Q-Plot ชันกว่าเส้น
ทแยงมุม แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์หรือ
(R SQUARE) ตัวแปรประสิทธิผลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน มีค่า
เท่ากับ 0.76 ความแปรปรวนในตัวแปรประสิทธิผลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือ
ตอนบนได้ร้อยละ 76
2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดและตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อประสิทธิผลการจัด
การศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนบน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปร
บรรยากาศองค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ดุสิต ทองสาย. (2541). ประสิทธิผลของการบริหารศูนย์บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2547). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: แซทโฟร์พริ้นติ้ง.
ธนวิน ทองแพง. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยบูรพา. (ปริญญานิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย.
บังอร ศรีสุทธิกุล. (2544). อิทธิพลของภาวะผู้นำและการรับรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร
ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงานโรงเรียน
ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนมัธยมศึกษา
กรมสามัญศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2550). อิทธิพลของลักษณะขององค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน
สภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจการทำงาน ความพึงพอใจในงานและ
ความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
(ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร.
กรุงเทพฯ.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547. (2547, ตุลาคม 30).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษที่ 70 ก. หน้า 12.
ภารดี อนันต์นาวี. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
รุ่ง แก้วแดง และ ชัยณรงค์ สุวรรณสาร. (2536). แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพขององค์การ.
ใน ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารศึกษา หน่วยงาน 9 -12 (หน้า 64).
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิกิพีเดีย. (2555). มหาวิทยาลัยราชภัฏ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.
org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. (2544). คู่มือการเขียนผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี และปฏิบัติ. เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย.
อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
Dejnozka, E. L. (1983). Educational administration glossary. Connecticut: Greenwood.
Hersey, P. and Blanchard, K. H. (1988). Management of organizational behavior: Utilizing
human resources. (5th ed.) New Delhi: Prentice Hall of India.
Schein, E. H. (1990). Organization culture and leadership. San Francisco: Jossey – Bass.