กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนพื้นที่จังหวัดพะเยา

Main Article Content

วิลาวัลย์ ใจเอื้อ
นาวิน พรมใจสา
ศิวาพร วังสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่จังหวัด
พะเยาและจัดทำกลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาอย่างยั่งยืน ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ที่เป็นตัวแทนองค์กรในการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ตัวแทน
เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน ตัวแทนเกษตรกร เด็กและเยาวชน อำเภอละ 5 คน รวมทั้งหมด 45 คน วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและเทคนิค SWOT อธิบายตามกรอบแนวคิดการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-40 ปี จบการศึกษาชั้นสูงสุด
มัธยมศึกษาตอนปลาย สถานภาพสมรส และเป็นผู้นำที่เป็นทางการ ส่วนใหญ่เห็นว่าผู้นำเป็นหัวใจสำคัญ
ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของการจัดการป่าชุมชน เห็นด้วยกับการมีกิจกรรมป่าชุมชนอย่างต่อเนื่อง


เพื่อสร้างความรักความสามัคคีให้กับคนในชุมชน และการจัดการป่าชุมชนต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
ของคนในชุมชน
ปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการป่าชุมชนจังหวัดพะเยา
ทุกภาคส่วน ทุกระดับ คือ พระราชบัญญัติป่าชุมชน นโยบายป่าไม้แห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ทำให้เกิดสิทธิในการดูแลรักษา การจัดการป่าชุมชนภายใต้องค์ประกอบทางสังคม เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และการตรวจสอบติดตาม ชุมชนดำเนินการรักษาป่าภายใต้ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิม และร่วม
กันใช้ประโยชน์ภายใต้การกำกับดูแลของแต่ละชุมชน
สภาพแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนจังหวัดพะเยา ด้านภายใน 1) จุดแข็ง ชุมชนมีวิถีความเชื่อดั้งเดิม
มีสำนึกร่วม ผู้นำและองค์กรมีความเข้มแข็ง ระดมทุนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนและสามารถพัฒนา
ต่อยอดไปสู่การจัดการด้านการออมทรัพย์ การจัดการป่าแบบบูรณาการสร้างแรงจูงใจในการบริหารจัดการ
และดำเนินการในรูปแบบของเครือข่าย 2) จุดอ่อน ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจการจัดการป่าชุมชน โครงสร้าง
คณะกรรมการไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม งบประมาณไม่เพียงพอ
ขาดการกำหนดแผนแม่บทที่ชัดเจน ขาดการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และไม่มีระบบการตรวจสอบติดตาม
อย่างเป็นระบบ สภาพแวดล้อมด้านภายนอก 3) โอกาส สังคมให้ความสนใจการจัดการป่าชุมชน มีโอกาส
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี จากหน่วยงานภาคี และ 4) อุปสรรค ความไม่รู้
กฎระเบียบของคนนอกชุมชน ขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานท้องถิ่น
กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนพื้นที่จังหวัดพะเยามีทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1
ส่งเสริมแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจ สำนึกร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน กลยุทธ์
ที่ 2 พัฒนาศักยภาพของคนชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบ
การบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 4 สนับสนุนและพัฒนาระบบการสื่อสาร เทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกับการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการทำงาน
ร่วมกันแบบบูรณาการ และกลยุทธ์ที่ 6 สนับสนุนงบประมาณ กองทุน ในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ทบทวนนโยบายภาครัฐและส่งเสริมให้การจัดการป่าชุมชน
เป็นนโยบายสาธารณะ ให้การรับรองสิทธิในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชน หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน และมีหน่วยงานหลัก
ในการเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญในการจัดทำ
แผนแม่บทที่เกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2554). พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติดินถล่มระดับชุมชน จังหวัดพะเยา. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2556). ป่าชุมชน ความหมาย ป่า และชุมชน. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2556,
จาก http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=category&
id=64&Itemid=79
ปาหนัน กันหาสินธุ์ และคนอื่นๆ. (2554). การพัฒนาแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนของ
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวนศาสตร์, 30(3),
33-42.
พรชัย ธรณธรรม และ จินตนา ทวีมา. (2554). แนวคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.
พระใบฎีกาวิเชียร ใจดี. (2548). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษา
ชุมชนบ้านปี้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2557). ป่าชุมชน ประเด็นและสาระสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2557,
จาก http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/ebooks/2011/2011-017-0007/index.html#/4/
zoomed
ไพโรจน์ คชรินทร์. (2556). ผลสำเร็จของการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านปางเปา.
(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา. (2557). โครงการป่าชุมชนในพื้นที่
จังหวัดพะเยา. พะเยา: สำนักงานฯ.
สำนักงานสถิติจังหวัดพะเยา. (2553). โครงการจัดทำระบบสถิติระดับท้องถิ่น. พะเยา: สำนักงานฯ.