การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมของ ผู้นำที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานองค์กรในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มัทรี บุญเจริญ
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล อิทธิพลของปัจจัย
ลักษณะภาวะผู้นำ อิทธิพลของปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลของปัจจัยพฤติกรรมของผู้นำ
ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานองค์กรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาและการทดสอบความน่าเชื่อถือด้วยวิธี
ของครอนบาร์ค ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.982 และแจกกับพนักงานองค์กรในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
400 คน และวิธีทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ การใช้สถิติทดสอบ
หาความแตกต่าง พบว่า ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพรายได้ เฉลี่ยต่อ
เดือน และอายุการทำงาน ไม่แตกต่างกัน และการใช้สถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีเคราะห์
การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า อิทธิพลของปัจจัยลักษณะภาวะผู้นำด้านผู้นำแบบชี้นำ ผู้นำแบบสนับสุนน
ผู้นำแบบมุ่งเน้นความสำเร็จ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานองค์กร แต่ด้านผู้นำแบบสนับสนุน
ไม่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานองค์กร ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อความเชื่อมั่น
ในการทำงานของพนักงานองค์กร และอิทธิพลของปัจจัยพฤติกรรมของผู้นำส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงาน
ของพนักงานองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจน์ณัฏฐ์ คงวิโรจน์. (2560). แบบของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ แรงจูงใจของพนักงานปฏิบัติการที่มี
ประสิทธิผลในการทำงานของธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.
เกตุศิรินทร์ เพ็ชรบูรณ์. (2557). กำรศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และวัฒนธรรม
องค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษำ
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กรุงเทพฯ.
ฌิชามล ฟองน้ำ. (2558). กำรศึกษำคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
ที่มีประสิทธิผลในการทำงาน. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กรุงเทพฯ.
ธีรัชภัทร บัวคำศรี. (2551). คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
นราวิทย์ นาควิเวก. (2557). บทบาทของหัวหน้างานที่องค์กรคาดหวัง. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559,
จาก http://nnarawit.blogspot.com/2014/06/blog-post_10.html
นิสสรณ์ ชัยวิจิตมลากูล. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาทางจิตวิทยากับพฤติกรรมการเป็น
สมาชิกที่ดีขององค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การเอกชน.
(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
มนันยา โชติวรรณ. (2559). การศึกษาลักษณะภาวะผู้นำและบรรยากาศในการทำงานของผู้นำ
ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตคลองเตย.
(การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.
วรท วิลาวรรณ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญในการปฏิบัติงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี
ขององค์การ : กรณีศึกษาพนักงานในธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ เครือซิเมนต์ไทย.
(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วรรณภา แก้ววิลัย. (2558). การศึกษาผู้บริโภค ส่วนประสมทางการตลาด บริการ และคุณภาพ
การให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการบริการของนักท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยว
เชิงผจญภัย ศึกษาในกรณีของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร.
(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.
วรางคณา กาญจนพาที. (2556). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร :
กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
ศิริภัทร ดุษฎีวิวัฒน์. (2555). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน
ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2554). การบริหารแบบให้พนักงานมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560,
จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/markandtony/2011/10/06/entry-5
อนุชา อรุณทองวิไล. (2557). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการและความเชื่อมั่นไว้วางใจ
ส่งผลต่อความภักดีของธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่.
(การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.
Bass, B. M., and Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through
transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.
Blake, R. R., and Mouton, J. S. (1964). The managerial grid. Houston: Gulf.
Burn, J. M. (1985). Leadership. New York: Horper and Row.
Hanna, N. and Wozniak, R. (2001). Consumer behavior : An applied approach. Upper
Saddle River, NJ: Prentice Hall
Hemphill, J. K., and Coons, A. E. (1957). Development of the leader behavior description
questionnaire. In R. M. Stodgill and A. E. Coons (eds.), Leader behavior : Its
description and measurement (pp. 6-38). Columbus, Ohio: Bureau of Business
Research, Ohio State University.
House, R. J. (1996). Path-goal theory of leadership : Lessons, legacy, and a reformulated
theory. The Leadership Quarterly, 7, 323-352.
House, R. J., and Mitchell, T. R. (1974). Path-goal theory of leadership. Journal of
Contemporary Business, 3, 1–97.
Morgan, R. M., and Hunt, S. D. (1994). The commitment trust theory of relationship
marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.
Rotter, J. (1967). A new scale for the measurement of interpersonal trust. Journal of
Personality, 35, 651-665.