การบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียน ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

Main Article Content

วรพงศ์ บงกชกุสุมาลย์
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวงจร
คุณภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวงจรคุณภาพของ
โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต 2 โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน
36 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียน
ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน
เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย
อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินผลผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
อยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน อยู่ในระดับมาก และด้านการเรียนรู้
ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์ และการฝึกปฏิบัติ อยู่ในระดับน้อยตามลำดับ
ปัญหา คือ นักเรียนยังขาดความคิดสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่สามารถคิดแตกต่างจากแบบอย่าง
นักเรียนวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตนเองได้น้อยมาก นักเรียนเห็นว่าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงและโกงกินชาติเป็น
เรื่องไกลตัว การประเมินผู้เรียนส่วนใหญ่ใช้แบบทดสอบ ชุมชนและสถานศึกษามีเวลาว่างไม่ตรงกันเนื่องจาก
ต้องหาเลี้ยงชีพ ครูแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เด็กเห็น
ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าความรู้ สรุป คิดวิเคราะห์ด้วยตนเองอยู่เสมอ
ควรให้นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองโดยการลองผิดลองถูกโดยครูค่อยให้ข้อเสนอแนะ ควรใช้
เครื่องมือในการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมจริยธรรมและ
การปฏิบัติตนในสังคมให้แก่นักเรียน ควรรณรงค์ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงและโกงกินชาติ ควรมีการวางแผน
ประชุม หารือร่วมกันกับชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จานุรัตน์ จองปุ๊ก. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอปางมะผ้า สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. เชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2544). การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา (CIPPA
Model). วารสารวิชาการ, 2(5), 42-45.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประจง วงกมลจิตร์. (2548). การพัฒนาครูกับการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนประถม
ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี.
ประเสริฐ ครอบแก้ว. (2545). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
พะยอม หมื่นจิตร์. (2547). การพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียน
บ้านหิน (วุฒิวิทยาคาร) จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
พัฒยา เฉิดโฉม. (2545). ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ภัทรัฒน์ ศรีทองสุข. (2555). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการ
เทียบเคียงสมรรถนะเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระนครศรีอยุธยา.
มาลี ประเสริฐเมธ (2552). การบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียน
ในอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
วัฒนา ระงับทุกข์. (2541). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนพร.
วุฒิชาติ แสนวิเศษ. (2546). สภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
สถาบันราชภัฏเลย. เลย.
สมอง ชัยทอง. (2550). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาภาษาไทย
ช่วงชั้นที่ 2 กรณีศึกษา : โรงเรียนท่าแฝกอนุสรณ์ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ใหม่.
กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์.
สรพงษ์ จันทร์พราหมณ์. (2550). การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สุนันทา แก่นคำกาศ. (2548). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.
(การศึกษาอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สุทน รักบางบูรณ์. (2545). ความต้องการนิเทศการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุพัตรา เทศเสนาะ. (2551). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามแนวประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว
สำนักงานเขตการศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์.
สุรชัย สุขสกุลชัย. (2557). อุตสาหกรรมศึกษา. วารสารวิชาการ, 11(1), 51–52.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.
กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
อุดม ธาระณะ. (2553). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.
อุไรวรรณ ฉัตรสุภางค์. (2550). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดสมุทรปราการ.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.