การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารแปรรูป กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงปลาตะเพียนบ้านคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

Main Article Content

โชฒกามาศ พลศรี
ศุภกัญญา เกษมสุข
รัตนาภรณ์ แซ่ลี้

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารแปรรูป กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงปลาตะเพียนบ้านคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดยโสธร ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 1 กลุ่ม 10 ราย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จังหวัดยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการศึกษา 1) การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงปลาตะเพียนบ้านคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบผลิตภัณฑ์ควบคู่กันไป โดยค้นหาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หาวิธีแก้ไขหรือคำตอบใหม่สำหรับปัญหาต่าง ๆ และอาศัยกรรมวิธีการผลิตด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้า ทำความเข้าใจการวิเคราะห์ปัญหาสู่การคิดออกแบบสร้างสรรค์ และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมีปัญหาในภาพรวมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89) โดยมีปัญหาด้านเทคโนโลยีสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31) และความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19) โดยมีความต้องการในเรื่องการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์สูงที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28) และ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดยโสธร ต้องใช้หลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ 1) หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Participation Development) 2) การพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Development) 3) การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning & Knowledge Sharing) 4) แนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ (Marketing Concept providing customers is the best) และ 5) การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2556). ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(2), 1-5.

ธนกรณ์ ศิริสุขโภคา. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวา กรณีศึกษาตำบลไทรงาม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สมาคมธนาคารไทย. (2553). สรุปภาวะเศรษฐกิจปี 2552 และแนวโน้มปี 2553. กรุงเทพฯ: สมาคมฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). การชี้แจงแนวทางระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย “จากพลังความคิด...สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์”. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2554). กราฟแสดงจำนวนวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562, จาก http://smce.doae.go.th/ProductCategory/smce_report.php

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี. (2561). โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน. อุบลราชธานี : ศูนย์ฯ.

แสงแข สพันธุพงศ์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารในชุมชน ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.