ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุเกี่ยวกับความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของปัจจัยเชิงสาเหตุของโมเดลที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวมต่อความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยด้านความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทาง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู มีค่าเฉลี่ย 3.81 (S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ย 3.75 (S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีค่าเฉลี่ย 3.73 (S.D. = 0.73) อยู่ในระดับมาก
2. โมเดลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (x2 = 2.83, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.0044, RMSEA = 0.00 รวมทั้งกราฟ Q-plot มีความชัน กว่าเส้นทแยงมุม และเมื่อพิจารณาค่า R2 ตัวแปรความรับผิดชอบในทักษะด้านชีวิตและอาชีพ มีค่าเท่ากับ 0.93 ตัวแปรในโมเดลอธิบายถึงความแปรปรวนของความรับผิดชอบด้านทักษะชีวิตและอาชีพได้ร้อยละ 93.00
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมและมีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2555). จริยธรรมกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการคุณธรรมความดี, 1(1), 57.
ฉันทนา รัตนพลแสน. (2551). ความรับผิดชอบสำคัญอย่างไร. วารสารวิทยาจารย์, 107(12), 22.
ชนิดา โคลงชัย. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ณัฏฐณิชา ศรีพิมลปาณี. (2551). คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยในอีก 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. นิตยสาร สสวท, 45(204), 35.
ผัลย์สุพันธ์พัชร์ มุ่งไฝ่ดี. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
พูนสุข รื่นปาน. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ฉะเชิงเทรา.
มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2560). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and family development in the 21th century). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก http://www.thungyai2you.com/index.php/2018-06-21-21-15-12/2-uncategorised/9-21-child-and-family-development-in-the-21th-century
มาริสา วรัตรุจิวงศ์. (2549). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนหอวัง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ลภัสรินทร์ รัตนบุรี. (2557). ศึกษาระดับการพัฒนาทางจริยธรรมของนักศึกษาสถาบันรัชต์ภาคย์ศูนย์ฯ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งนครศรีธรรมราช.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สรุปรายงานผลการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับเขตตรวจราชการที่ 5. (2561). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://drive.google.com/file/d/1QaCNOkh7wCvn3NUbdifIiseOIQrbgbz/view
สุวารินทร์ โรจน์ขจรนภาลัย. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบด้านการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์พิทยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
อังคณา ถิรศิลาเวทย์. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนพนิชยการสยาม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.