การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพโดยใช้กลวิธีการสอนแบบ MIA ตามแนวคิดของเมอร์ด็อค เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพด้วยกลวิธีการสอนแบบ MIA เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียน และเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างยนต์ จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการฟังและดูสารในงานอาชีพ จำนวน 4 แผน เวลา 8 ชั่วโมง แบบทดสอบประเมินทักษะการเรียนรู้การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จำนวน 30 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ( = 4.53) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.46 คิดเป็นร้อยละ 9.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.46 คิดเป็นร้อยละ 1.07 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กรมฯ
กาญจนา นาคสกุล. (2550). รอบรู้ภาษาไทย เล่ม 1 รวมความรู้ภาษาไทยสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยทุกคนข้อคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิช.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2560). ความสามารถในการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 49-62.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ชุติมา ป่าสณท์ และ ปริณ ทนันชัยบุตร. (2558). การศึกษาความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคการอ่าน KWL Plus. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 45 - 46.
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภดล เลือดนักรบ. (2560). ICT : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 70-80.
ประภัสสร ไชยถา. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ทักษะการเขียน และทักษะการนำเสนอสาระภาษาอังกฤษ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(3), 101-118.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภรณ์ หนูกุ้ง. (2544). การสร้างชุดการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามกระบวนการสอนอ่านแบบ MIA. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.