ผลของการฝึกอบรมด้วยระบบสมองกลฝังตัว Micro: Bit แบบใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วิชิต เทพประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกอบรม เรื่อง “การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Micro:Bit แบบใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1” 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรม 3) เพื่อศึกษาผลงาน โครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นหลังจากผู้เข้ารับ การอบรมได้รับการฝึกโดยชุดฝึกอบรมฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมหลังจากได้รับการฝึกโดยชุดฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันทราย (พรหมณีวิทยา) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชุดฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม แบบประเมินโครงงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมประกอบด้วย คู่มือการฝึกอบรม ใบกิจกรรม สื่อการฝึกอบรม อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดฝึกอบรมโดยรวมคะแนน 4.5 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) โครงงานสิ่งประดิษฐ์ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลคะแนน
อยู่ในระดับดีมาก 4) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นได้คะแนนเฉลี่ย 4.09 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ เสือแพร และ พัฒพงษ์ อมรวงศ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วย ภาษาซี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(1), 18-23.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. เอกสารการสอน ชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1–5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดุษฎี โยเหลา และคนอื่น ๆ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.

ทิชพร นามวงศ์. (2559, ธันวาคม 30). การพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบกราฟิก. Social Sciences Journal, 6(3), สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/68233

ธีระ วรรณเกตุศิริ. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนรู้การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานโปรแกรมแบบจำลอง สถานการณ์ ในรายวิชาการโปรแกรมเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(1), 13-24.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2537). ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรม หน่วยที่ 8 – 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ และ พนมพร ดอกประโคน. (2559). เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพและแนวคิดเชิงคํานวณอย่างเป็นระบบ. Journal of Information Science and Technology, 6(2), 9-16.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชามัลติมีเดียและแอนิเมชั่น 2 มิติ และ 3 มิติ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน, 2(3), 36-41.

พนภาค ผิวเกลี้ยง และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 80-90.

รัชฎา เทพประสิทธิ์ และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Micro:Bit สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ. Learning with the Micro:Bit. Retrieved 30 november 2019, from https://microbit.org/get-started/bbc-microbit-in-school

McDonell, C. (2007). Project-based inquiry units for young children, first steps. to research for grades pre-K-2. Worthington: Linworth Books.