การวิเคราะห์การใช้ภาษาในชื่อเพลงของ เติ้ง ลี่จวิน (邓丽君)

Main Article Content

ศุภกร ทาพิมพ์
ตรีศูล เกษร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างทางไวยากรณ์ในด้านคำ วลี สำนวนสุภาษิต และประโยคในชื่อเพลงของ เติ้ง ลี่จวิน อีกทั้งสำรวจและจำแนกประเภทของคำที่พบบ่อย ตลอดจนวิเคราะห์ลักษณะเด่นของการใช้ภาษาในชื่อเพลงของ เติ้ง ลี่จวิน ผลการศึกษาพบว่า ชื่อเพลงมีปรากฏทั้งที่เป็นคำ วลี สำนวนสุภาษิต และประโยค โดยพบชื่อเพลงที่เป็นวลีมากที่สุด จำนวน 366 เพลง คิดเป็นร้อยละ 55.58 ด้านชนิดของประโยคโดยแบ่งตามการใช้ พบประโยคบอกเล่าหรือบรรยายมากที่สุด 141 เพลง คิดเป็นร้อยละ 20.65 หากแบ่งประเภทประโยคตามโครงสร้าง พบเอกรรถประโยคมากที่สุด จำนวน 210 เพลง คิดเป็นร้อยละ 92.51 โดยเป็นเอกรรถประโยคแบบประโยคบทกริยาคำกริยามากที่สุด ในส่วนของชนิดของคำ พบคำนามมากที่สุด จำนวน 496 คำ รองลงมา คือ คำกริยา จำนวน 185 คำ ส่วนคำเติมหน้าพบน้อยที่สุด จำนวน 1 คำ แต่ไม่ปรากฏคำเลียนเสียง ส่วนลักษณะเด่นของการใช้ภาษา พบมีการใช้ภาษาต่างประเทศ การเล่นคำ การซ้ำคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในชื่อเพลง ซึ่งพบเพียงเครื่องหมายอัศเจรีย์และเครื่องหมายหยุดพักเสียง อีกทั้งพบว่า ในชื่อเพลงไม่นิยมใช้เครื่องหมายปรัศนีและเครื่องหมายมหัพภาค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวนพิศ เทียมทัน. (2557). การพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้าและซินหวารื่อเป้าในแง่ความหมายของคำศัพท์ โครงสร้างวลี และประโยค. วารสารจีนศึกษา, 7(2), 1-32.

นพคุณ บัวศรี. (2546, กุมภาพันธ์ 23). ถามตอบกับ 4 ตี๋ FA. มติชน, หน้า 23.

เผิง ลี่ถิง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(28), 27-38.

ศิวิไล ชูวิจิตร. (2549). การวิเคราะห์การใช้ภาษาในเพลงไทยสากลของบริษัท อาร์.เอส. โปรโมชั่น 1992 จำกัด ช่วงปี พ.ศ. 2542-2546. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

เสี่ยวอันต้า. (2547). ไวยากรณ์จีน. กรุงเทพฯ: ทฤษฎี.

เหยิน จิ่งเหวิน. (2555). ไวยากรณ์ภาษาจีนฉบับเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

邓丽君歌名 Mojim (魔镜歌网). Retrieved August 26, 2020 from https://mojim.com/chn100463-1.htm

尼尔. (2010). 永远的华人巨星邓丽君. Retrieved January 10, 2021 from https://p.dw.com/p/NJgQ